การพัฒนาระบบและกลไกการรายงานโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ผ่านระบบดิจิทัล 506 ของเครือข่ายนักระบาดวิทยา จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรายงานข้อมูลผู้ป่วยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาผ่านระบบดิจิทัล (D506) ของเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อพัฒนาและประเมินผลระบบและกลไกการรายงานข้อมูลโรคติดต่อผ่านระบบ D506 แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยการวิจัยระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรายงานข้อมูลโรคติดต่อผ่านระบบ D506 ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการรายงานฯ ตามกระบวนการของ PDCA และระยะ ที่ 3 เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อประเมินประสิทธิผลของระบบและกลไกที่พัฒนาฯ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multivariable linear regression การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และ Paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า มี 2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรายงานข้อมูลโรคติดต่อผ่านระบบ D506 ได้แก่ เคยส่งข้อมูลโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาผ่านระบบ D506 และความพึงพอใจในการใช้งานระบบ D506 โดยเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาที่เคยส่งข้อมูล D506 และมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบ D506 ในระดับดี จะมีคะแนนพฤติกรรมการรายงานข้อมูลโรคติดต่อผ่านระบบ D506 มากกว่า 5.33 คะแนน (Adjusted mean diff =5.33, 95% CI= 2.00-8.66) และ 9.53 คะแนน (Adjusted mean diff = 9.53, 95% CI = 6.16 to 12.90) ระบบและกลไกการรายงานข้อมูลโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาผ่านระบบ D506 ของเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ปัญหา 2) การพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศของหน่วยบริการ 3) การอบรมพัฒนาความรู้และทักษะในการงานระบบ D506 4) การจัดการระบบ Username & Password 4) การนิเทศติดตามประเมินผล 5) การสรุปผลงานการส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และ 6) การสร้างเครือข่ายเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หลังทดลองใช้ระบบและกลไกฯ พบว่า เจ้าหน้าที่ระบาดวิทยามีคะแนนความรู้เกี่ยวกับระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อทางระบาดวิทยา ทัศนคติต่อการส่งข้อมูลโรคติดต่อผ่านระบบ D506 พฤติกรรมการส่งข้อมูลโรคติดต่อผ่านระบบ D506 และความพึงพอใจในการใช้งานระบบส่งข้อมูลโรคติดต่อผ่านระบบ D506 มากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และมีผลงานความครอบคลุม และความทันเวลาในการส่งรายงานข้อมูลโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังผ่านระบบ D506 ของหน่วยบริการเพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
.กนกวรรณ เซียวศิริถาวร และฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในกรุงเทพมหานคร. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(2): 195-207.
กมล พจชนะ และคณะ. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(4): 699-709.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566).การเฝ้าระวังและการสอบสวนโรคทางระบาดวิทยา. [Internet]. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1317720220921103807.pdf
กฤษณะ สกาวงค์ และคณะ. (2566). การพัฒนาโปรแกรมเฝ้าระวังโรคติดต่อ Z506 Dashboard รู้ทันป้องกันได้ เขตสุขภาพที่ 8. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี, 1(3): 1-19.
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). นิยามโรคและแนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี. กระทรวงสาธารณสุข ISBN 978-616-11-4505-7.
ชีวิน สมสว่าง. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดราชบุรี. [เอกสารอัดสำเนา]. ราชบุรี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดราชบุรี.
ดอกแก้ว ตามเดช. (2565). การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพจังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(1): 78-92.
ระนอง เกตุดาว และคณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(1): 53-61.
วลีรัตน์ อภัยบัณฑิตกุล. (2565). การพัฒนาระบบและกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(2): 55-71.
Kelley, K., & Maxwell, S. E. (2003). Sample size for multiple regression: obtaining regression coefficients that are accurate, not simply significant. Psychological methods; 8(3): 305.
Kemmis, S & McTaggart, R. (1998). The Action Research Planer (3rded.). Victoria: Deakin University.