รูปแบบการดำเนินงานธรรมนูญหมู่บ้านจัดการโรคไข้เลือดออก บ้านเท่อเล่อ ตำบลโนนค้อ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ณภัทร จุลทัศน์, ส.บ.

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานธรรมนูญหมู่บ้านจัดการไข้เลือดออก บ้านเท่อเล่อ ตำบลโนนค้อ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่าง เดือน กรกฎาคม 2566 ถึง กุมภาพันธ์ 2567 กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบได้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานธรรมนูญหมู่บ้านจัดการไข้เลือดออก บ้านเท่อเล่อ จำนวน 35 คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาและประเมินผล ประชาชน ทั้งหมด 101 คน จาก 101 หลังคาเรือน โดยประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ของเคมมิสและแมกแทกการ์ต (Kemmis & McTaggart) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่1) การวางแผนการปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ 2) การลงมือปฏิบัติการตามแผน ขั้นตอนที่ 3) การติดตามสังเกตการณ์ และขั้นตอนที่ 4) การสะท้อนผล จำนวน 3 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ของเครือข่ายสุขภาพและผู้นำชุมชนในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูล เปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังใช้สถิติ paired t-test
           ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการดำเนินงานธรรมนูญหมู่บ้านจัดการไข้เลือดออกบ้านเท่อเล่อ มีกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้ 1.) การเตรียมการก่อนการวิจัย โดยมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำความเข้าใจในบริบทของชุมชน 2) การประชาคมร่วมกับชุมชนเพื่อสะท้อนสถานการณ์การแพร่ระบาดและออกแบบวิธีการดำเนินงานธรรมนูญหมู่บ้านจัดการไข้เลือดออก 3) การติดตามการดำเนินงานโดยเยี่ยมเสริมพลังเครือข่ายในการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด ของโรคไข้เลือดออก ได้รูปแบบการป้องและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ตามหลัก TERLER Modle ดังนี้ 1)Team Tumbol Health board : การแต่งตั้งทีมคณะกรรมการระดับตำบล 2) E : effeective planning ออกแบบรูปแบบการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ทำให้มีประสิทธิภาพ 3) R : (Respect & Openness) ให้ความเคารพ ต่อกันและเปิดกว้างทางความคิด 4) L : Learning and Leteracy การเรียนรู้และความแตกฉานเกี่ยวกับโรค 5) E : Experience and education การเรียนรูชื่นชมการทำงาน ผ่านประสบการณ์ 6) R : Reflection Evaluation การสะท้อนและประเมินผลการดำเนินการ
            ผลการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่า หลังการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างมี มีผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนน ของการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานประจำปี 2564. กรุงเทพฯ:

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กระทรวงสาธารณสุข.

กฤตย์ติวัฒน์ ฉัตรทอง. (2554). การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนนาชะอัง จังหวัดชุมพร. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

จีระศักดิ์ เจริญพันธ์. (2550). การจัดการสาธารณสุขในชุมชน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. . (2546). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี. กรุงเทพฯ: กระทรวง สาธารณสุข.

ชาญชุติ จรรยาสัณห์ และคณะ. (2554). การมีส่วนร่วมในยุทธวิธีที่เป็นประโยชน์ในการป้องกัน โรคไข้เลือดออกของประชากรตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ฉบับพิเศษ,ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 64-75.

ดาบชัย มาภา. (2550). ได้ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิภพ ธงไชย. (2554). ความเคลื่อนไหวของมวลชน การเคลื่อนไหวของประชาชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ภาคย์ คะมาลี. (2552). การรับรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน เทศบาลเมือง เมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริวรรณ ภู่สุวรรณ. (2553). ความรู้และการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก. วิทยานิพนธ์ สาขาสาธารณสุขมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุทธิชัย วงค์ชาญศรี. (2551). ผลของการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุม ไข้เลือดออกของอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สังวาล เจริญรบ และคณะ. (2550). สถานการณ์ ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ร้อยเอ็ด.

อรพินท์ สพโชคชัย. (2551). การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.