การพัฒนาต่อยอดรูปแบบตามนโยบาย GREEN & CLEAN Sub-district Health Promoting Hospital (GCSh) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัวหุ่ง จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาแนวทางและศึกษาผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบตามนโยบาย GREEN & CLEAN Sub-district Health Promoting Hospital (GCSh) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัวหุ่ง จังหวัดศรีสะเกษ ศึกษาในผู้ให้ข้อมูลหลัก 17 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการจำนวน 302 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) การสนทนากลุ่มการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การระดมสมอง สะท้อนคิด และ 3) รูปแบบตามนโยบาย GREEN & CLEAN Sub-district Health Promoting Hospital (GCSh) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัวหุ่ง ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยการหาความเที่ยงตรง ของเครื่องมือ (Content Validity) ได้ค่า OIC = 0.5-1 เก็บรวบรวมข้อมูลเดือน ธันวาคม 2566 – เมษายน 2567
ผลการวิจัย ด้านสถานการณ์ พบประเด็นปัญหาด้านการพัฒนาส้วมให้ได้มาตรฐานและการจัดการสิ่งปฏิกูล โดยองค์ประกอบที่ต้องได้รับการจัดการคือ 1) ปัญหาด้านองค์ความรู้ 2) การมีส่วนร่วมในการจัดการของบุคลากร 3) ความตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินการ รูปแบบการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Sub-district Health Promoting Hospital (GCSh) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัวหุ่ง “3PKA” ประกอบด้วย 1) Policy คือ มีนโยบายการดำเนินงานที่ชัดเจน 2) Participation การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 3)Patients Focus มีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง 4) Knowledge & Healthy Management การพัฒนาความรู้และการจัดการอย่างมีระบบ และ 5) Activity การกำหนดกิจกรรมการพัฒนาที่ชัดเจน
ผลลัพธ์การดำเนินการพบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัวหุ่ง มีการพัฒนาการดำเนินงานในการพัฒนา ต่อยอดรูปแบบการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Sub-district Health Promoting Hospital (GCSh) ผ่านเกณฑ์ประเมินตนเอง14 ขั้น จากการพัฒนาดังกล่าวทำให้ผู้รับบริการมีความรอบรู้ต่อการปฏิบัติตามนโยบาย GCSh ในระดับมาก การรับรู้บทบาทตนเองมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามนโยบายและมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากร้อยละ 97.25 โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาการพัฒนารูปแบบดำเนินงาน GCSh ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัวหุ่ง ประกอบด้วยหลัก “3PKA” มีการปฏิบัติงานแบบภาคีเครือข่ายโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งทำให้ผลลัพธ์การพัฒนาอยู่ในระดับดีมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2553).คู่มือโครงการสาธารณสุขรวมใจรณรงค์ลดโลกร้อนด้วยการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.(2555).แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
เกศราพร แก้วลาย(2561). การพัฒนารูปแบบอนามัยสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลวาปีปทุมจังหวัดมหาสารคาม,ผลงานวิชาการ งานมหกรรมวิชาการสาธารณสุข ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ปี 2561[ออนไลน์]. ได้จากhttp://mkho.moph.go.th/research2018/.
ยงยุทธ เกษสาคร.(2546).เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม(พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: วี.เจ. พริ้นดิ้ง.
ศรัญรัตน์ ธานี และเทิดศักดิ์ พรหมอารักษ์ (2565) การพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน โรงพยาบาล GREEN and CLEAN Hospital ของโรงพยาบาลน้ำขุ่น ตำบลขี้เหล็ก อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราขธานี, 12(1), 5–14.
สมชาย ภานุมาสวิวัฒน์, อนุศร การะเกษ, วรรณชาติ ตาเลิศ, เกตุนรินทร์ บุญคล้าย, กรรณิกา เพ็ชรักษ์. ความรอบรู้ด้าน วัคซีนโควิด 19 กับความตั้งใจการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป. วารสารวิชาการ- สาธารณสุข, 31(ฉบับเพิ่มเติม 1):S3-14.
Cobb, S. (1976). Social support as a moderator of life stress. Psychosomatic Medicine, 38(5), 300-314.
Herzberg,F., Mausner,B.,&Snyderman,B.B.(1967) The motivation to work(2nd ed.).New York:John Wiley &Sons.
Hege,E. T., Anette,C. I.,&Bente,W.(2009)The Norwegian network of health promoting schools: A three-year follow-up study of teacher motivation, participation and perceived outcomes. Scandinavian Journal of Educational Research, 53(1), 89-102.
Kemmis, S. and McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. 3rded. Victoria, Australia: Deaken University Press.
Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine (2008), 67(12):2072-8.