ผลของการใช้แนวทางการคัดแยกระดับความฉุกเฉินผู้ป่วย งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลขุนตาล จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของความถูกต้องการคัดแยกระดับความฉุกเฉินผู้ป่วยก่อนและหลังของการใช้แนวทางการคัดแยกระดับความฉุกเฉินผู้ป่วย และระดับความพึงพอใจ ของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวทางการคัดแยกระดับความฉุกเฉินผู้ป่วย งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลขุนตาล จังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2566 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลขุนตาล จำนวน 6 คน และกลุ่มที่ 2 คือผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่งานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลขุนตาล กลุ่มก่อนและหลังการใช้แนวทาง กลุ่มละ 375 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวทางการคัดแยกระดับความฉุกเฉินผู้ป่วย ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบรวมรวมผลลัพธ์ความถูกต้องของการคัดแยกระดับความฉุกเฉินผู้ป่วย และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวทางการคัดแยกระดับความฉุกเฉินผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Chi-squared
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างบุคลากรเป็นเพศหญิง ร้อยละ 100 มีอายุเฉลี่ย 31 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 100 มีประสบการณ์ทำงานในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เฉลี่ย 7.85 ปี หลังมีการใช้แนวทางการคัดแยกระดับความฉุกเฉินผู้ป่วยมีความถูกต้องของการคัดแยกระดับความฉุกเฉินผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 58.87 เป็น ร้อยละ 90.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.83 คะแนน อยู่ในระดับมากที่สุดต่อการใช้แนวทาง การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าแนวทางการคัดแยกระดับความฉุกเฉินผู้ป่วยสามารถช่วยพัฒนาการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช เห็นควรส่งเสริมให้มีการใช้อย่างต่อเนื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2561).MOPD ED. TRIAGE. สำนักวิชาการแพทย์กรมการแพทย์. งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลขุนตาล. (2565). รายงานประจำปี พ.ศ. 2565. โรงพยาบาล ขุนตาล: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
ชาติชาย คล้ายสุบรรณ. (2561).คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับศักยภาพสถานพยาบาล. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
นิตยา สุภามา, สุพัดชา คำวงษา, ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์, เจษฎา สุราวรรณ์. (2563). ประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 5(4), 65-74.
ปุณยนุช ปิจนำ.(2563).ผลการศึกษาการคัดแยกประเภทผู้ป่วยหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลวังชิ้น.วารสารโรงพยาบาลแพร่, 28(1), 152-162.
พรวิภา ยะสอน.(2566). ผลการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วย งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช.วารสารวิชาการสาธารณสุขจังหวัดตาก, 3(2). สืบค้นจากhttp://www.tako.moph.go.th/librarybook/web/books/view?id=23.
พูนมณี อุ่มสัมฤทธิ์. (17 พฤศจิกายน 2566). ประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี.[อินเตอร์เน็ต] จังหวัดอุดรธานี.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. https://backoffice.udpho.org/openaccess/.
สุภารัตน์ วังศรีคูณ. (2561). การพัฒนาคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉิน.พยาบาลสาร, 45(3), 158-169.
Sartini, M., Carbone, A., Demartini, A., Giribone, L., Oliva, M., Spagnolo, A.M., Cremonesi, P., Canale, F. & Cristina, M.L. (2022). Overcrowding in Emergency Department: Causes, Consequences, and Solutions—A Narrative Review. Healthcare,10(9), 1-13. https:// doi.org/10.3390/healthcare10091625.
Savioli, G., Ceresa, I.F.; Gri, N., BavestrelloPiccini, G.; Longhitano, Y., Zanza, C.; Piccioni, A., Esposito, C., Ricevuti, G. &Bressan, M.A. (2022). Emergency Department Overcrowding: Understanding the Factors to Find Corresponding Solutions. J. Pers. Med, 12(2), 1-13. https://doi.org/10.3390/jpm12020279.