การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตตำบลนาตาล อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตตำบลนาตาล อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2567 ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วยกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และภาคีเครือข่ายในชุมชนจำนวน 60 คน และผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า จำนวน 80 คน ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และสะท้อนผลการปฏิบัติ จำนวน 2 วงรอบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบอุปนัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าเฉลี่ย ค่าสถิติ pair t-test
ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตตำบลนาตาล อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี SIX STEPS Model : SSEPST ประกอบด้วย1.Self-care: การดูแลตัวเองด้านสุขภาพที่จำเป็น 2.Strengthening family : การเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว 3. Establishing groups: การจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ 4.Policy support: การมีนโยบายเพื่อสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุ 5.Social Engagement:การมีส่วนร่วมทางสังคมและชุมชน 6.Technology and Digital Access : การเข้าถึงดิจิทัลและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงของโรค การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ การสนับสนุนทางสังคม การมีส่วนร่วมในการป้องกันภาวะซึมเศร้า พฤติกรรมการป้องกันการป่วยฯและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุหลังการทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้าของผู้สูงอายุได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 แยกตามตำบล.(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.dop.go.th/th/know/1/238. 2562.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). แผนกลยุทธ์กรมกิจการผู้สูงอายุ พ.ศ.2560- 2564. กรุงเทพมหานคร : เทพเพ็ญวานิสย์.
กรมสุขภาพจิต. (2559). แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). นนทบุรี: สำนักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความเครียด กรมสุขภาพจิต (SPST-20). (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://envocc.ddc.moph.go.th./contents/view/697. 2550.
กระทรวงสาธารณสุข. แบบรายงานการตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2562. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://bie.moph.go.th/e-insreport/file_report/2019-02-12- 09-06-13-11.doc. 2562.
กฤษฎนัย ศรีใจ.(2566).รูปแบบการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุเขตเมือง. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชาฤทธิ์ วรวิชญพงศ์จิราพร เกศพิช,ญวัฒนา.(2557).ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจแบบครอบครัวมีส่วนร่วมต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลตํารวจ.ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557.P16-32.
ฐิติรัตน์ ช่างทอง และเกษตรชัย และหีม. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจิตสังคม การรับรู้ และการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 17(2), 54-64.
เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง และอุมาพร อุดมทรัพยากุล. (2554). ความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรสูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 56(2), 103-116.
ธนา คลองงาม.(2564).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,1(4), 174-181.
ประสบสุข ศรีแสงปาง. (2561). ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ:ความลุ่มลึกในการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41(1), 129-140.
ปิติคุณ เสตะปุระ และณัฐธกูล ไชยสงคราม.(2565). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ. 2564.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(3), 1070-1084.
พรทิพย์ แก้วสว่าง. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10,19(1), 36-48.
พิทยุตม์ คงพ่วง พิมพ์พรรณ อำพันธ์ทอง วัชรี เพ็ชรวงษ์และสุนันทรา ขำนวนทอง.(2564).ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(11), 338-348.
รุจิวรรณ สอนสมภาร,(2561).แนวทางการส่งเสริมเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุอำเภอครบุรีจังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพจังหวัดนครราชสีมา.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.ปีที่ 4 ฉบับที่ 1.มกราคม-มิถุนายน 2561.P 77-89.
วัลยา ตูพานิช.(2566)รูปแบบการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง.วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิชัย เอกพลากร.(2557).รายงานการสำรวจสุขภาพของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557.นนทบุรี.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
วิชาภรณ์ คันทะมูล และ ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์.(2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุภาคเหนือตอนบน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 10(3), 83-92.
วิทมา ธรรมเจริญ และนิทัศนีย์ เจริญงาม.(2561).พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี.รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. 137 หน้า.
วิทมา ธรรมเจริญ นิทัศนีย์ เจริญงาม ญาดาภา โชติดิลกและนิตยา ทองหนูนุ้ย. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(3), 52-62.
วิภา ไพนิกพันธ์ บุษกร เพิ่มพูล และวรกร วิชัยโย. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ในตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 4(1), 11-23.
ศิริภัททรา จุฑามณี สมบัติ ประทักษ์กุลวงศา และ เพชรไพลิน พิบูลนิธิเกษม. (2562). ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(2), 141-148.
สุรเดชช ชวะเดช.(2562).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(3), 174-181.
สุวิทย์ เจริญศักดิ์,กอบหทัย สิทธิรณฤทธิ์, ธีรศักดิ์ สาตรา,วีรศักดิ์ เมืองไพศาล,วราลักษณ์ ศรีนนท์ ประเสริฐ.2561).ความชุกของโรคจิตเวชในผู้ป่วยสูงอายุ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง,วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยปีที่ 63 ฉบับที่1, มกราคม - มีนาคม 2561,P 89-98.
อรุณ จิรวัฒน์กุล.(2553).ชีวสถิติ.พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
อรุณ จิจิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติในงานวิจัยเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ : บริษัทวิทยพัฒน์.
อ้อยทิพย์ บัวจันทร์ ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง ธมลวรรณสวัสดิ์สิงห์ และฐาติมา เพชรนุ้ย.(2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารพยาบาล, 70(4), 20-27.
อิทธิพล พลเยี่ยม.(2556).ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด คณะ สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
Beck A.T. (1967). Depression: Clinic, experimental and theoretical aspects. New York: Hoeber Medical Division.
Beck, A.T., Rush, A.J., Shaw, B.F., & Emery, G. (1997). Cognitive therapy of depression. New York: The Guilford Press.
Cohen, H.G., Staley, F.A. and Willis J.H. (1989). Teaching science as s decision making process. 2nd. Iowa: Kendall/Hunt Publishing Company.
Hsieh, F.Y., Bloch, D.A., & Larsen, M.D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in medicine, 17(14), 1623-1634.
Kemmis,S. & McTaggart,R.(1990).The action research planner. (3rd ed.). Victoria: Deaken University Press.
National Clinical Guideline Centre. (2010). Delirium: Diagnosis, prevention and management. royal College of Physicians (UK).
Orth, U., Robins, R.W., Trzesniewski, K.H., Maes, J., & Schmitt, M. (2009). Low self-esteem is a risk factor for depressive symptoms from young adulthood to old age. Journal of abnormal psychology, 118(3), 472–478.
United Nations. (2017). World population prospects: The 2017 revision - Key Findings and Advance Tables.
World Health Organization. (2015). Thinking healthy: a manual for psychosocial management of perinatal depression, WHO generic field-trial version 1.0, 2015 (No. WHO/MSD/MER/15.1). World Health Organization.
World Health Organization. (2017). World Health Day 2017 - Depression: let's talk. https://www.who.int/news-room/events/detail/2017/04/07/default-calendar/world-health-day-2017.
World Health Organization. (2018). World Health Day 2017 - Depression: let's talk. https://www.who.int/news-room/events/detail/2017/04/07/default-calendar/world-health-day-2018.
World Health Organization. (2023). Depression. https://www.who.int/health-topics/depression#tab=tab_1.