การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน คลินิกวาร์ฟาริน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีรัตนะ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรงพยาบาลศรีรัตนะ เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง (F1) ผู้ป่วยที่รับบริการคลินิกยาวาร์ฟาริน แผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 252 คน การจัดทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action Research ) เป็นการจัดการปัญหาและพัฒนาระบบงานคลินิกวาร์ฟาริน โดยพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยผ่าน Google form, พัฒนาแบบสอบถามและประเมินการใช้ยาวาร์ฟาริน, พัฒนาฉลากช่วยในการรับประทานยาวาร์ฟาริน และการพัฒนาเครื่องมือช่วยในการทำงานของแพทย์ ได้แก่ แอปพลิเคชันคำนวณขนาดยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาลศรีรัตนะ ผ่าน AppSheet โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบระบบงานรูปแบบเดิม ช่วงระหว่าง 1 พฤษภาคม – 31 ตุลาคม 2566 จำนวน 841 ตัวอย่าง กับระบบงานรูปแบบใหม่ ช่วงระหว่าง 1 พฤษจิกายน 2566 - 30 เมษายน 2567 จำนวน 907 ตัวอย่าง
ผลการศึกษาด้านประสิทธิภาพการทำงาน พบว่า จำนวนครั้งที่ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลศรีรัตนะ เพิ่มสูงขึ้นเป็น ร้อยละ 75.52 (จากร้อยละ 65.19) ค่า INR ของผู้ป่วยอยู่ในช่วงการรักษาเพิ่มสูงขึ้นเป็น ร้อยละ 65.71 (จากร้อยละ 60.05) เมื่อเปรียบเทียบผลการลดระยะเวลาการคำนวณขนาดยาวาร์ฟาริน ผ่านแอปพลิเคชันคำนวณขนาดยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาลศรีรัตนะ พบว่า ใช้เวลาเฉลี่ย 0.97 นาที/ครั้ง (จากเฉลี่ย 4.16 นาที/ครั้ง) ด้านการพัฒนาระบบป้องกันความผิดพลาดในการสั่งจ่ายยาวาร์ฟาริน พบจำนวน 1 ครั้ง ร้อยละ 0.11 (จาก 11 ครั้ง ร้อยละ 1.31) ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาวาร์ฟารินลดลง พบ จำนวน 19 ครั้ง ร้อยละ 2.09 โดยไม่พบ Major bleeding event (จาก 49 ครั้ง ร้อยละ 5.83 โดยพบ Major bleeding event 1 ครั้ง ร้อยละ 0.12) ปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วยลดลง, ปัญหาการปฏิบัติตนของผู้ป่วยลดลง และจากการประเมินความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน โดยภาพรวมผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ป่วยจึงได้รับการบริการที่มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างสูงสุด ผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
ทรงขวัญ ศิลารักษ์ และคณะ (2553). บรรณาธิการ. 2553. 12 น . Available at: http://www.thaiheart.org/index.php?lay=show &ac=article&Id =53952670 &Ntype=5.
พิกรม อโศกบุญรัตน์, ฑิภาดา สามสีทอง (2564). ผลของการพัฒนาการบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกวาร์ฟาริน ณ โรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง. สารสารเภสัชอีสาน 2564;17: 61-74.
มัทรียา บุษทิพย์ (2565). การพัฒนาระบบการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาลนาดี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารองค์การเภสัชกรรม 2565;48(4):37-40.
สมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์ (2553). แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน [อินเทอร์เน็ต].
สุภารัตน์ เบี้ยวบรรจง (2542). ผลทางคลินิกของการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยนอกที่ได้รับยา วาร์ฟารินในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัญฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Alghadeeer S, Alzahrani AA, Alalayet WY, Alkharashi AA, Alarifi MN (2020). Anticoagulation control of warfarin in pharmacist-led clinics versus physician- led clinics: A prospective observational study. Risk Manag Healthc Policy. 2020;13:1175–9.
Ashp (1996). Medication Therapy and Patient Care: Organization and Delivery of Services_Guidelines ASHP Guidelines on a Standardized Method for Pharmaceutical Care Need for a Standardized Method. 1996;349–51. Available at: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglcle findmkaj/ https://www.ashp.org/-/media/assets/policy-guidelines/docs/guidelines/ standardized-method-pharmaceutical-care.ashx.
Morgan CL, McEwan P, Tukiendorf A, Robinson PA, Clemens A, Plumb JM (2009). Warfarin treatment in patients with atrial fibrillation: observing outcomes associated with varying levels of INR control. Thromb Res. 2009 May;124(1): 37-41. doi: 10. 1016/.thromres.2008.09. 016. Epub 2008 Dec 4. PMID: 19062079.
Rosendaal FR, Cannegieter SC, Van der Meer FJM, Briet E (1993). A method to determine the optimal intensity of oral anticoagulant therapy. Thromb Haemost [Internet] . 1993;69(3):236–9. Available at: chrome-extension://efaidnbmnnnibpca jpcglclefindmkaj/https://scholarlypublications. universiteitleiden.nl/access/item%3A3137934/view
Wan Y, Heneghan C, Perera R, Roberts N, Hollowell J, Glasziou P, et all (2008). Anticoagulation control and prediction of adverse events in patients with atrial fibrillation: A systematic review. Circ Cardiovasc Qual Outcomes [Internet] . 2008;1(2):84–91.Available at: https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/ CIRCOUTCOMES.108.796185 _ver=Z39.88-2003&rfr_id=ori:rid:crossref.