การศึกษาการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านยา ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

นุชน้อย ประภาโส, ภ.บ., วท.ม.

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานด้านความปลอดภัยด้านยาของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั้ง 4 มิติ คือ 1)การบริหารจัดการระบบความปลอดภัยด้านยา 2)ระบบการคัดเลือกยาเข้า 3)การจัดซื้อยาและคลังเวชภัณฑ์ และ 4)เภสัชกรรมปฐมภูมิ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลโปรแกรมประเมินตนเองตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในช่วงมกราคมถึงพฤษภาคม 2567 นำเสนอข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ และใช้ Chi-square test กำหนดค่านัยสำคัญ P<0.05
           ผลการศึกษา เมื่อแบ่งตามเขตสุขภาพ 12 เขต รวม 72 แห่งในปี 2565 และ 76 แห่งในปี 2566 พิจารณาแต่ละมิติ คะแนนผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านยา จำแนกตามขนาดสสจ. (S M L XL และ Ex-XL) พบว่าค่าเฉลี่ยทั้ง 4 มิติ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกันทั้งปี พ.ศ.2565 และ พ.ศ. 2566 ภาพรวมทั้ง 4 มิติ ปี 2566 มีคะแนนเฉลี่ยในแต่ละมิติเพิ่มขึ้นจากปี 2565 และผลต่างค่าเฉลี่ยรวมผล การประเมินตนเองตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านยาในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดดำเนินงานในปี 2565 และ 2566 คือ 0.42 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.01)
           สรุปผลการศึกษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกขนาดทุกแห่งให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านยาในทุกมิติ ควรให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้ตระหนักเห็นความสำคัญและจัดทำเป็นนโยบายให้ชัดเจนทั้งในระดับจังหวัด ระดับเขตสุขภาพ และระดับประเทศต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (2561). HOSPITAL SAFETY INDEX การประเมินดัชนีความปลอดภัยการจัดการภาวะฉุกเฉินและสาธารณสภัยในสถานพยาบาล. ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2561).

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(2564). คู่มือมาตรฐานระบบบริการสุขภาพ ปี2564. กรุงเทพมหานคร; 2021[cited 2023 july 25]. ค้นจาก https://ricd.go.th/webth2/wp-content/uploads/2021/06/Health-Service-System-Standards-Year-64.pdf. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567.

กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ และ ภัทร์อนงค์ จองศิริเลิศ (2564). การประเมินมาตรฐานความปลอดภัยด้านยาของโรงพยาบาลภาครัฐ. วารสารเภสัชกรรมคลินิก. 2554; ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2554): 123-131.

กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ และ ภัทร์อนงค์ จองศิริเลิศ (2555). การประเมินมาตรฐานความปลอดภัยด้านยาของโรงพยาบาลภาครัฐ. วารสารเภสัชกรรมคลินิก. 2555; ปีที่ 19 ฉบับที่ 2-3 (พฤษภาคม - ธันวาคม 2555): 81-111.

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (2558). คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use Hospital Manual). นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ฉัตราภรณ์ ชุ่มจิต และ เยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ (2552). การจัดการระบบยาเพื่อความปลอดภัยด้านยาในโรงพยาบาล:บทวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสในการพัฒนา. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal.2009. Vol. 4 No. 1, Jan. – Mar. 2009:127-135.

ธนนรรจ รัตนโชติพานิช และคณะ (2549). การพัฒนาเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพระบบเภสัชกรรมในโรงพยาบาลชุมชน. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

บรรณสรณ์ เตขะจำเริญสุข และ ขัชนินทร์ อัจลานนท์ (2567). การบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์เพื่อคุณภาพระบบยาและความปลอดภัยโรงพยาบาล ค้นจากhttps://www.researchgate.net/publication/343808847_Review_article_karbriharkhlangyalaeawechphanthpheuxkhunphaphrabbyalaeakhwamplxdphayrongphyabal_bthkhwamkarsuksatxneuxngthangphesachsastr เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567.

ภัทร์อนงค์ จองศิริเลิศ (2557). การประเมินมาตรฐานระบบยาของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ (เอกชน) พื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารเภสัชกรรมคลินิก. ปีที่ 23 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม 2557): 44-55.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (SAFETY). บริษัท อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด: กรุงเทพมหานคร.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (2561). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ. 2561 Patient Safety Goals: SIMPLE Thailand 2018. มีนาคม 2561.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (2565). มติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2564 นโยบายแห่งชาติด้านยาและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2563-2565. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2565]. http://ndi.fda.moph.go.th/ndi_home.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, กระทรวงสาธารณสุข (2550). ทบทวนสภาพปัญหาและการวิจัยเกี่ยวกับระบบยาของประเทศไทย. นนทบุรี : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ (2555). คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566.พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2565: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2564). คู่มือ มาตรฐานการสุขาภิบาลและความปลอดภัยในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3 (ฉบับปรับปรุง) กันยายน 2564: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.