การศึกษาเปรียบเทียบความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบด้วยการฉีดยาชาเฉพาะที่และการให้ยาดมสลบ

Main Article Content

สิทธิชัย สายสมบูรณ์, พ.บ.

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเจ็บปวดและภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัดโรค ไส้เลื่อนที่ขาหนีบโดยวิธีฉีดยาชาเฉพาะที่ เทียบกับวิธีการผ่าตัดด้วยการใช้ยาดมสลบ ดำเนินการวิจัยโดยวิธีศึกษา แบบย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบที่เข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัด ศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึง วันที่30 มิถุนายน 2566 จำนวน 40 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยทสถิติอย่างง่ายและการเปรียบเทียบ
          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ จำนวน 40 ราย โดยเป็นเพศชาย 40 ราย (ร้อยละ 100) อายุเฉลี่ย53.7 ปี เข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธีการฉีดยาชาเฉพาะที่ 22ราย (ร้อยละ55) ผ่าตัดด้วยวิธีใช้ยาดมสลบ 18 ราย (ร้อยละ45) พบว่าในกลุ่มที่รับการผ่าตัดด้วยวิธีฉีดยาชาเฉพาะที่ มีความเจ็บปวดหลังผ่าตัดในช่วง 6 ชั่วโมงแรก 2.55±0.85 คะแนน ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ยาดมสลบ 4.61±0.618คะแนน อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.005) หลังความเจ็บปวดหลัง 6 ชั่วโมง ไม่มีความแตกต่างกันระหว่าง 2 กลุ่ม ผู้ป่วยกลุ่มที่ผ่าตัดโดยวิธีฉีดยาชาเฉพาะที่มีระยะเวลาในการฟื้นตัวหลังการผ่าตัด 26.36±10.14นาที น้อยกว่า กลุ่มที่ได้รับยาดมสลบ 153.30±32.36 นาที (p<0.005) และในกลุ่มใช้ยาชาไม่มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ยาดมสลบ 4 ราย(ร้อยละ 22.22) อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.005)
          สรุปจากการศึกษาพบว่า การผ่าตัดรักษาโรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบด้วยวิธีฉีดยาชา มีความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดใน 6 ชั่วโมงแรกน้อยกว่ากลุ่มที่ผ่าตัดด้วยวิธีการดมยาสลบ ผู้ป่วยมีระยะพักฟื้นที่น้อยกว่าและไม่มีผลต่อระบบต่อระบบไหลเวียนโลหิต สามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการผ่าตัดสูง โดยที่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆไม่มีความแตกต่างกันกับการรักษาด้วยวิธีใช้ยาดมสลบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amul Bhedi, Sushil Damor, Arnab Sarkar (2016). Inguinal Hernia Repair: Comparison of Local Anaesthesia and Spinal Anaesthesia.JMSCR.;4(12):14540-14547.

Bore Bakota, Mario Kopljar, Diana Simic, Miljenko Franic, Mario Staresinic, Leonardo Patrl (2016). Complications, Pain Control, and Patient Recovery After Local Versus General Anesthesia for Open Inguinal Hernia Repair in Adults. Int Surg;101:144–152.

Courtney J. Balentine , Jennie Meier , Miles Berger, Timothy P. Hogan, Joan Reisch , Munro Cullum , Herbert Zeh, Simon C. Lee, Celette Sugg Skinner, Cynthia J. Brown (2020). Using local rather than general anesthesia for inguinal hernia repair is associated with shorter operative time and enhanced postoperative recovery. The American Journal of Surgery; 10(10):1-6.

Flavio Antonio De Sa Ribeiro ,Fernana Padron, Tiago Durate Magalhaes Castro, Lucio Carlos De Azevedo Torres Filho, Baltazar De Araujo Fernandes (2010). Inguinal hernia repair with local anesthesia in the outpatient. Col. Bras. Cir.; 37(6): 397-40.

J Dunn, Dr C J E Day (1998).Local anesthesia for inguinal and femoral hernia repair. Update in Anaesthesia 1998;10:17-19.

Kreangsak Chainapapong (2019). Groin Hernia Repair under Local Anesthesia in One Day Surgery-8-year Experience. The Thai journal of surgery; 40:27-34.

Methas Arunnart (2022). Early Results of Inguinal Hernia Repair under General Anesthesia and a One-Day Surgery Protocol. The Thai journal of surgery; 43(4):155-159.

Muhammad Saad Faisal , Malik Nazar Farid , Mujahid Mahmood (2016). Tolerability and Outcome of Inguinal Hernia Repair under Local Anesthesia among elderly male patients high risk for General or Regional Anesthesia. PJMHS; 10(4): 1157-1160.

Mojolaoluwa Olugbemi, Thomas Athisayaraj, Emmanuel Lorejo, Eamonn Coveney (2023). The Impact of Body Mass Index on Local Anaesthetic Inguinal Hernia Repair.Cureus; 15(3):1-8.

M.Hosseinpoura, A.Behdadb, M.Resaei (2013). Assessment of the effect of local versus general anesthesia on the pain perception after inguinal hernia surgery.Ambulatory surgery; 19(1):10-12.

P.Sanjay,A.Woodward (1994). Inguinal hernia repair: Local or general anesthesia.Ann R coll Surg Engl 2007;89:497-503.

Parviz K. Amid, Alex G, Shulman, Irving L. Lichtenstein. Local Anesthesia for Inguinal Hernia Repair Step-by-Step Procedure.Annals of surgery; 220(6):735-737.

Ryota Koyama,Yoshiaki Maeda,Nozomi Minagawa,Toshiki Shinohara (2015). Three-step tumescent local anesthesia technique for inguinal hernia repair.Annal gastroenterology surgery; 5:119-123.

Rupal Kapadia, Hanna Musa, Palakben Parikh, Namrata Mehta, Lalit Kapadiya (2021). A clinical study: Inguinal hernia repair under local block.Indian Journal of Clinical Anaesthesia; 8(1):62–67.