การศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส ของประชากรกลุ่มเสี่ยง

Main Article Content

อนุลักษ์ แก้วคูนอก, วท.บ.

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสในด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรค ในประชากรกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อเลปโตสไปโรซีส บ้านสำโรงใหม่ไทยเจริญ หมู่ 21 ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการวิจัย ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2567 การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 63 ช่วงอายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง อายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไปคิดเป็น ร้อยละ 33 อาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ร้อยละ 87.5 ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเลปโตสไปโรซีส เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 63.7 ด้านเจตคติ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการป้องกันโรค พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเจตคติอยู่ใน ระดับดี ร้อยละ 92.5 ด้านการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส การปฏิบัติตนของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 82.5 ข้อมูลพฤติกรรมในแต่ละด้านของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ดี แต่ยังมีกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมไม่ถูกต้อง ถึงแม้กลุ่มนี้เป็นส่วนน้อยก็ต้องให้ความสำคัญและดำเนินการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ถูกตองในการปองกันโรค ซึ่งกระบวนการแกไขปัญหาที่เหมาะสมและเป็นที่นิยม ได้แก่ การวางแผนงานแกปญหาโดยใหชุมชนมีส่วนร่วม ด้วยวิธี AIC (Appreciation Influence Control) ได้แก่ ร่วมคิด ร่วมวิเคราะห์ และร่วมตัดสินใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2542). คู่มือวิชาการเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข (2566). สถานการณ์และแนวโน้มของโรคเลปโตสไปโรซิสในประเทศไทย.

ฆาลิตา วารีวนิช และ ฐาปะนีย์ ชูเหลือ (2560). การศึกษาลักษณะทางคลินิกและระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิสในพื้นที่ประสบอุทกภัย ภาคใต้ตอนบน.

พรพิทักษ์ พันธ์หล้า และ วิมวิการ์ ศักดิ์ชัยนานนท์ (2564). แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซิสโดยใช้หลักการทางระบาดวิทยาและการทำประชาสังคมในชุมชน. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

วรารัตน์ สังวะลี และคณะ (2558). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส ของประชาชนในเขตพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.

วัฒนาพร รักวิชา ,ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ (2557). พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเลป โตสไปซิส (โรคฉี่หนู)ของประชาชนอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำพู (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัชระบพิตร บังพิมาย พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ (2560). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเลปโตสไปโรซิส ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดร้อยเอ็ด.

ฤชุอร จอมทอง, พฤศจิกาพรน์ ปัญญาคมจันทพูน, วันชัย สีหะวงษ์ และ ทศพงษ์ บุระมาน (2563). การศึกษาการรับรู้ โอกาสเสี่ยงต่อโรคฉี่หนู ความพึงพอใจข้อมูลข่าวสารและพฤติกรรมป้องกันตนเองต่อโรคฉี่หนูของ ผู้ป่วยโรคฉี่หนูในพื้นที่เสี่ยง อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. ปีที่ 18 เล่มที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2563.