รูปแบบการสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนงานบริบาลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำท่วม ตำบลแข้ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พรทิวา เสาเวียง, ส.บ.

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานบริบาลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชนในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำท่วม ตำบลแข้ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่าง เดือน มกราคม 2566 ถึง กันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการสร้างรูปแบบได้แก่นายกองการบริหารส่วนตำบล, เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล, สมาชิกองการบริหารส่วนตำบล, ผู้นำชุมชน ,ปราชญ์ชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ,พระภิกษุ ,CareGiver ,เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key information) ในการสะท้อนสภาพปัญหา และการถอดบทเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยทำการสุ่มเลือกมาแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ในกลุ่มประชากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน โดยประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ของเคมมิสและแมกแทกการ์ต (Kemmis & McTaggart) จำนวน 3 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ของเครือข่ายสุขภาพและผู้นำชุมชนในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูล เปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังใช้สถิติ paired t-test
        ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนงานบริบาลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชน มีกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้ 1.) การเตรียมการก่อนการวิจัย โดยมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำความเข้าใจในบริบทของชุมชน 2) การประชาคมร่วมกับชุมชนเพื่อสะท้อนสถานการณ์งานบริบาลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง 3) การติดตามการดำเนินงานโดยเยี่ยมเสริมพลังเครือข่ายในงานบริบาลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชน ตามหลัก Flood Modle ประกอบด้วย 1) F: Function and cooperation team : คณะทำงานและความร่วมมือ 2) L : Learning and mutual understanding การเรียนรู้และความเข้าใจร่วมกัน 3) O : Originality and seek for Resource sharing มีความคิดริเริ่มและแสวงหาการแบ่งปันทรัพยากร 4) O : Openness care and social suprot การดูแลแบบเปิดกว้างและการสนับสนุนทางสังคม 5) D : Development Evaluation and empowerment การพัฒนา การประเมินผลและการเสริมพลัง
           ผลการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่า หลังการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างมี มีผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตโดยรวม ของผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติศักดิ์ วิจักษณกุลและ อารี บุตรสอน 2564 การสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนงานบริบาลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชน ตำบลโนนโหนน อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี.

ชไมพร แร่ทอง (2553) การประเมินผลโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 8 กองการแพทย์ เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

ชนิตา สุ่มมาตย์ (2551). การพัฒนารูปแบบในการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยองค์กรชุมชนในภาคอีสาน.[วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์].มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณิสาชล นาคกุล (2561) การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี.

เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ (2555) กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลมาบแค อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม.

พวงเพ็ญ ชั้นประเสริฐ (2550). การดูแลและการพัฒนาสุขภาพ ผู้ สูง อ า ยุ. ส ถ า บั น วิ จั ย ป ร ะ ช า ก ร แ ล ะ สัง ค ม มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 16 มกราคม 2550, กระทรวง สาธารณสุข.

ทิพยรัตน์ กันทะ. (2564). ศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน.

วรางคณา ศรีภูวงษ์, ชาญยุทธ ศรีภูวงษ์ และ สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์. (2563). ศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม.

รายงานผลการดำเนินงานประจำปีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำท่วม ตำบลแข้ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ, 2565.

สายใจ จารุจิตร, ราตรี อร่ามศิลป์ และวรรณศิริ ประจันโน (2562). ศึกษาเรื่อง รูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงตามปัญหาและความต้องการของผู้ดูแล.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ (2552). รายงานสถานการณผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้สูงอายุไทย.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์,ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล,วิชช์ เกษมทรัพย์,วิชัย เอกพลากร,บวรศม ลีระพันธ์ (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการ ดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ดีเซมเบอรี่ จำกัด.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ (2551). อาหารทั่วไป และอาหารเฉพาะโรคผู้สูงอายุ.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.

สุมิตรา วิชา, ณัชพันธ์ มานพ. สุภา ศรีรุ่งเรือง, เบญจ พร เสาวภา, ศิริรัตน์ ศรีภัทรางกูร, ณัฐกานต์ ตาบุตร วงศ์, ธนกฤษ หมื่นก้อนแก้ว, ธนัชพร มณีวรรณ (2560). รายงานผลการวิจัยการพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียงในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลฮ่องห้า หรือชุมชนฮ่องห้า อ.แม่ทะ จ.ลำปาง.

อนุชา ลาวงค์ และคณะ. (2564). ศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชมท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด.

Edwards RG (1996). The history of assisted human conception with special reference to endocrinology. Exp Clin Endocrinol Diabetes; 104(3):183-204.

Kemmis, S & McTaggart, R (1988). The Action Research Planner.3 rd ed. Victoria: Deakin University.