ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยย้อนหลังเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปและปัจจัย ความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลกับการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเวชระเบียนความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาล ปี 2566 โรงพยาบาลศรีสะเกษ จำนวน 89 รายงาน ใช้กรอบแนวคิดการบริหารความเสี่ยงของ Wilson & Tingle เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกฐานข้อมูลบริหารความเสี่ยง ของโรงพยาบาลศรีสะเกษ ประกอบ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปแบบบันทึกปัจจัยความเสี่ยงและแบบบันทึกการบริหาร ความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันและไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่าช่วงเวลาที่ค้นหาความเสี่ยงมีความสัมพันธ์กับการบริหารความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพ ด้านวิธีค้นหาความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = .000, 2 = 12.837, df = 1) การตั้งเป้าหมายความเสี่ยงร่วมกันขององค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพด้านวิธีค้นหาความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = .038, r=.221) หน่วยงานมีความสัมพันธ์กับการจัดการ ความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = .024,2 = 23.57, df = 1) ช่วงเวลาที่ค้นหาความเสี่ยงมีความสัมพันธ์ กับการบริหารความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพด้านการจัดการความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = .034, 2 = 6.777, df = 2) ผู้รายงานความเสี่ยงทางคลินิกได้รับมอบหมายงานเหมาะสมกับภาระงานมีความสัมพันธ์ ทางลบ ในระดับต่ำกับการบริหารความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพด้านการจัดการความเสี่ยง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = - .270 ,r = .011) จึงมีข้อเสนอแนะในการบริหารความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพ ด้านการจัดการความเสี่ยงด้วยวิธีลดการสูญเสียและวิธีให้ทีมร่วมแก้ไขความเสี่ยงควรสนับสนุนให้เกิดการตั้งเป้าหมายความเสี่ยงร่วมกันทั้งองค์กร ควรสนับสนุนให้เกิดการค้นหาในช่วงเวลาที่เป็นปัจจุบัน และในหน่วยงานที่มีภาระงานที่มาก ควรมอบหมายงาน ให้เหมาะสมกับภาระงานของพยาบาลผู้รายงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยของผู้ป่วยในประเทศไทย ประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
นงเยาว์ คำปัญญา และจิตภินันท์ ศรีจักรโคตร. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพงานห้องคลอดโรงพยาบาลชุมชนเขต 7 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(3),154-163.
นิยตา ดีอินทร์. (2560). ประสิทธิผลของระบบการบริหารความเสี่ยงทางการพยาบาลที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
ภัทราพรรณ อาษานาม และ สมปรารถนา ดาผา. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดโรงพยาบาลศูนย์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสกลนคร, 25(3), 133-142.
รจนา เล้าบัณฑิต และ ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลสามร้อยยอด ประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 1(1),25-36.
โรงพยาบาลศรีสะเกษ. (2566). รายงานระบบการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกโงพยาบาลศรีสะเกษ (2564-2566). ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลศรีสะเกษ.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2565). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).
สุพัตรา ใจโปร่ง. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริหารความเสี่ยง ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 17. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มสธ. ครั้งที่ 1.
สุปราณี ใจดา และ เดชา ทำดี. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสารภีจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 8(1), 113-123.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Langkjaeret al. (2023). How nurses use National Early Warning Score and Individual Early Warning Score to support their patient risk assessment practice: A fieldwork study .J Adv Nurs. 2023;79:789–797.
Jones, A., & Brown, B. (2020). The Impact of Extended Risk Assessment Time on Nurses' Risk Management Strategies. Journal of Nursing Management, 28(4), 789-801.
Jones, A., & Brown, B. (2020). The Impact of Extended Risk Assessment Time on Nurses' Risk Management Strategies. Journal of Nursing Management, 28(4), 789-801.
Wilson, J. & Tingle J. (1999) .Clinical risk modification: A route to clinical Work in Mental Health Peer Services. Oxford: Buttreworth-Heinemann.
World Health Organization. (2021). Patient safety: Making health care safer. Geneva: World Health Organization.