การประเมินผลโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะพยาบาลเพื่อเพิ่มผลลัพธ์การดูแล ณ หอผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วิกฤติทางเดินหายใจในช่วงระบาดของ COVID-19 ของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสังเกตภาคตัดขวาง เพื่อประเมินโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วิกฤติทางเดินหายใจ ณ หอผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจช่วงการระบาด ของ COVID 19 ของโรงพยาบาลศูนย์ รวมรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากเวชระเบียนและทะเบียนผู้ป่วยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิทยาถอดบทเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจจำนวน 20 คน ดำเนินการในเดือนเมษายน – เดือนสิงหาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบเก็บรวบรวมข้อมูลผลลัพธ์ทางคลินิก และแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.85 และผลลัพธ์ทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสังเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา พยาบาลวิชาชีพนำความรู้จากหลักฐานเชิงประจักษ์ ทัศนคติของทีมและความสามารถของทีม มาพัฒนาสมรรถนะในเวลาที่จำกัด สมรรถนะที่มีความเฉพาะในการพยาบาลผู้ป่วย COVID 19 วิกฤติ ประกอบด้วย ความสามารถในการพยาบาลผู้ป่วยใช้ออกซิเจนอัตราไหลสูง ด้านการเฝ้าระวังไม่ให้อาการทรุดลงจากการพร่องออกซิเจน ความสามารถในการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ ด้านการเตรียมและช่วยวิสัญญีแพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจชนิดรวดเร็ว ความสามารถในการป้องการการแพร่กระจายเชื้อในหน่วยงาน และความสามารถในการพยาบาลด้านจิตใจผู้ป่วยและครอบครัว เป็นตัวแทนในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและครอบครัวให้มีพลังในการปฏิบัติตนเพื่อให้ฟื้นหายและลดความเครียดความกังวลที่ไม่สามารถเห็นสภาวะผู้ป่วยได้ตั้งแต่เข้าโรงพยาบาล รวมทั้งเป็นตัวแทนครอบครัว ขออโหสิกรรมเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต ทำให้เกิดผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้น และบุคลากรได้รับความปลอดภัยจากการปฏิบัติงาน นอกเหนือจากนั้น การที่พยาบาลมีสมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลในการวิเคราะห์เพื่อจัดการปัญหาเชิงระบบสามารถนำเข้าข้อมูลเพื่อให้ผู้บริหารใช้ประโยชน์เชิงนโยบายเพื่อลดความรุนแรงของการระบาดได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมการแพทย์.(2563). แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19. สืบค้น 10 เมษายน 2564 จาก htps://dmsic.moph.go.th/index/detail/8194
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้น 10 เมษายน 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/handout001_12032020.pdf.
จรูญศรี มีหนองหว้าและคณะ. (2566). การบริหารจัดการกำลังคนด้านการพยาบาลและสมรรถนะของพยาบาล เพื่อตอบสนองภาวะวิกฤตโควิด-19 ในระบบบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ เขตสุขภาพที่ 10. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 17(3), 490-590.
ชานนท์ ขนานใต้, บวรลักษณ์ ทองทวี, & ชาตรี วัฒนกุล, (2566). สมรรถนะการดูแลผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 ของพยาบาลไอซียู โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร.พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,50(2), 41-55.
เพชรา พิพัฒน์สันติกุล, มินตรา ศักดิ์ดี, & ธารทิพย์ แก้วเจริญ. (2564). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพงานช่าง-วิศวกรรมที่มีความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถาบันอุดมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 15(2), 38-49.
ยุดา สุธีรศานต์. The Basic of COVID-19:The Severe Covid Patients. (2563). ใน ดุสิต สถาวร ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์และสัณฐิติ โมรากุล (บ.ก.), COVID and Crisis in Critical Care. (หน้า 37-41).นนทบุรี: บียอนด์เอนเทอร์ไพรซ์.
รุ่งทิวา พิมพ์สักกะ. (2564). การจัดการทางการพยาบาลในช่วงวิกฤตการระบาดใหญ่ทั่วโลก ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารพยาบาล, 70(3), 64-71.
ศิริวรรณ ชูกำเนิด, ศักรินทร์ สุวรรณเวหา, จารุณี วาระหัส, อภิสิทธิ์ เชื้อคำเพ็ง, & ผาณิต หลีเจริญ. (2565). การพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพในภาวะที่มีการระบาดหรือภายหลังการระบาดของโรค COVID-19: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. การรับฟังประสบการณ์ผู้ป่วยสู่การปรับระบบบริการ (Patient Experience Program: PEP). สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). สืบค้น 12 มิถุนายน2564 จากhttps://www.ha.or.th/TH/Contents/ระบบการรับฟังประสบการณ์ผู้ป่วยสู่การปรับระบบบริการ.
สมาคมเวชบำบัดวิกฤติแห่งประเทศไทย. (2563). COVID and Crisis in Critical Care.นนทบุรี: บียอนด์เอนเทอร์ไพรซ์.
สำนักงานสถิติจังหวัดศรีสะเกษ. (2564). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2564. สืบค้น 3 มีนาคม 2564 จาก https://sisaket.nso.go.th/lications/ebook.html?view=book&id=21:19 &catid=2:household-income-and-expenditure-statistics
สำนักการพยาบาล. (2551). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล ปรับปรุงครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สารสนเทศทางการแพทย์ กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลศรีสะเกษ. (2566).รายงานข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2563 – 2565 (เอกสารอัดสำเนา). : โรงพยาบาลศรีสะเกษ.
Ääri, R. L., Tarja, S., & Helena, L. K. (2008). Competence in intensive and critical care nursing: A literature review. Intensive and Critical Care Nursing, 24(2), 78-89. https://doi.org/10.1016/j.iccn.2007.11.006.
Bartol, K. M., & Martin, D. C. (1998). Management. McGraw-Hill College. https://books.google.co.th/books?id=YMPlAQAACAAJ.
Gordon. JM, Magbee.T., & LH., Y. (2021). The experiences of critical care nurses caring for patients with COVID-19 during the 2020 pandemic: A qualitative study. Nurs Res, 59:151418. . https://doi.org/10.1016/ j.apnr.2021.151418.
Lam, S. K. K., Kwong, E. W. Y., Hung, M. S. Y., Pang, S. M. C., & Chiang, V. C. L. (2018). Nurses’ preparedness for infectious disease outbreaks: A literature review and narrative synthesis of qualitative evidence. Journal of Clinical Nursing, 27(7-8), e1244-e1255. https://doi.org/ doi.org/10.1111/jocn.14210.
Lauck SB, Bains VK, Nordby D, Iacoe E, Forman J, Polderman J, et al. (2022).Responding to the COVID-19 pandemic: Development of a critical care nursing surge model to meet patient needs and maximise competencies. Australian Critical Care,35(1):13-21.
Rooholamini, A., Amini, M., Bazrafkan, L., Dehghani, M. R., Esmaeilzadeh, Z., Nabeieie, P., Rezaee, R., & Kojuri, J. (2017). Program evaluation of an integrated basic science medical curriculum in Shiraz Medical School, using CIPP evaluation model. Journal of Advances in Medical Education & Professionalism, 5(3), 148-154. https://jamp.sums.ac.ir/article_41001.html
Khanantai C, Thongthawee B, Chatreewatanakul B. (2023).The Critical Care Competency for COVID-19 Patients of Intensive Care Nurses in Bangkok Metropolitan Administration Hospitals. Nursing Journal CMU.50(2):41-55.
Tzotzos, S. J., Fischer, B., Fischer, H., & Zeitlinger, M. (2020). Incidence of ARDS and outcomes in hospitalized patients with COVID-19: a global literature survey. Critical Care, 24(1), 516. https://doi.org/10.1186/s13054-020-03240-7
Vázquez-Calatayud M, Errasti-Ibarrondo B, Choperena A. (2021).Nurses' continuing professional development: A systematic literature review. Nurse Educ Pract. Jan;50:102963. doi: 10.1016/j.nepr.2020.102963. Epub 2020 Dec 29. PMID: 33422973.
Zimmerman, B. J., Bandura, A., & Martinez-Pons, M. (1992). Self-Motivation for Academic Attainment: The Role of Self-Efficacy Beliefs and Personal Goal Setting. American Educational Research Journal, 29(3), 663-676. https://doi.org/10.3102/00028312029003663