แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือดในโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อรกมล ศิริมาศ, พ.บ.
ละอองเดือน รัตนะวัน, วท.บ.(เทคนิคการแพทย์)

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือดในโรงพยาบาลราษีไศล ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนในภาคตะวันออกฉียงเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลราษีไศลในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566 ที่ได้รับการส่งตรวจเพาะเชื้อจากเลือดและมีผลเพาะเชื้อเป็นบวก จำนวน 417 ราย เก็บข้อมูลวิจัยได้แก่ด้วยโปรแกรม WHONET 2022 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละอย่างง่ายและ Chi-square
        ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 417 รายมีผลเพาะเชื้อในเลือดขึ้น 422 ครั้ง ถือเป็น 417 ครั้งเมื่อนับเฉพาะการเพาะขึ้นครั้งแรกของเชื้อชนิดนั้นต่อผู้ป่วยหนึ่งราย พบว่าเกิดจากการปนเปื้อน 157 ครั้งและเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดจริง 260 ครั้ง เป็นเชื้อรา 3 ครั้ง และเป็นแบคทีเรีย 257 ครั้งจากผู้ป่วย 238 ราย ผู้ป่วยมีอายุ 2 ถึง 95 ปี เป็นเพศชาย 55.0% มีโรคประจำตัว 89.0% โดยที่พบบ่อยที่สุดได้แก่โรคเบาหวาน ผลเพาะเชื้อ 63.8% มีที่มาจากชุมชน แบ่งเป็นเชื้อกรัมลบ 75.5% และเชื้อกรัมบวก 24.5% เชื้อที่พบมากที่สุดได้แก่ Escherichia coli 95 ครั้ง (37.0%) Klebsiella pneumoniae 32 ครั้ง (12.5%) Staphylococcus aureus 18 ครั้ง (7.0%) Burkholderia pseudomallei 16 ครั้ง (6.2%) และ Streptococcus pyogenes จำนวน 10 ครั้ง (3.9%) โดยรวมมีความไวต่อ ceftriaxone 81.7% จากการทดสอบ 191 ครั้ง แต่ในเชื้อกรัมลบที่มาจากโรงพยาบาลความไวลดลงเหลือ 62.5% จากการทดสอบ 56 ครั้ง ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มาจากชุมชนพบอัตราส่วนการของการติดเชื้อเมลิออยด์มากกว่าผู้ป่วยอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญ (17.0% และ 5.5%, p = 0.02) ในขณะที่อัตราการติดเชื้อกรัมบวกไม่แตกต่างกัน (22.6% และ 21.6%, p = 0.88)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภิรุญ มุตสิกพันธุ์. (2566). Bacteremia: source identification. ใน รุจิภาส สิริจตุภัทร (บ.ก.), Common consultation in infectious diseases (น. 142-147). กรุงเทพฯ: สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย.

Centers for Disease control and Prevention. (2024). Bloodstream Infection Event (Central Line-Associated Bloodstream Infection and non-central line-associated Bloodstream Infection). สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.cdc.gov/nhsn/pdfs/pscmanual/4psc_clabscurrent.pdf.

Centers for Disease control and Prevention. (2024). Identifying Healthcare-associated Infections (HAI) for NHSN Surveillance. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.cdc.gov/nhsn/pdfs/pscmanual/2psc_identifyinghais_nhsncurrent.pdf.

Friedman ND et. al. (2002). Health Care-Associated Bloodstream Infections in Adults: A Reason To Change the Accepted Definition of Community-Acquired Infections. Annals of Internal Medicine, 137(10): 791–8. DOI: 10.7326/0003-4819-137-10-200211190-00007.

Garner JS. (1988). CDC definitions for nosocomial infections, 1988. American Journal of Infection Control, 16(3):128–40. Retrieved from https://doi.org/10.1016/0196-6553(88)90053-3.

hantrakun V et. al. (2019). Clinical Epidemiology of 7,126 Melioidosis Patients in Thailand and the Implications for a National Notifiable Diseases Surveillance System. Open Forum Infectious Diseases. https://doi.org/10.1093/ofid/ofz498.

Hantrakun V et. al. (2018). Clinical epidemiology and outcomes of community acquired infection and sepsis among hospitalized patients in a resource limited setting in Northeast Thailand: A prospective observational study (Ubon-Sepsis). PLoS ONE 13(9): 1-14. https://doi.org/10.6084/m9.figshare.5544592.

Hindler JF, and Stelling J. (2007). Analysis and presentation of cumulative antibiograms: A new consensus guideline from the clinical and Laboratory Standards Institute. Clinical Infectious Diseases, 44(6):867–73. DOI:10.1086/511864.

Kanjanawasri S, Gulgusol N, and Yeepho T. (2018). Causative Pathogens, Risk Factors, Severity and Mortality of Patients with Bacteremia at King Narai Hospital. J Infect Dis Antimicrob Agents, 35(2): 65-73.

Malaikanok H, Komindr A, and Vadcharavivad S. (2014). Causative bacterial pathogens of septic patients at emergency department of King Chulalongkorn Memorial Hospital. Chula Med J, 58(4): 383-394.

O’Brien T. (1995). WHONET: An Information System for Monitoring Antimicrobial Resistance. Emerging Infectious Diseases, 1(2): 66–66. https://doi.org/10.3201/eid0102.950209.

Tancharoen L et. al. (2022). Epidemiology and Burden of Sepsis at Thailand’s Largest University-Based National Tertiary Referral Center during 2019. Antibiotics, 11(7): 899. https://doi.org/10.3390/antibiotics11070899.