ปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

เนาวรัตน์ ศรีสันติแสง, วท.ม.
กำพล เข็มทอง, ส.ด.

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(PMQA) ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ในจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ในจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล(ทัศนคติต่อการรับรู้) และข้อมูลปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน(ประกอบด้วย การได้รับการยอมรับ, ความก้าวหน้าด้านตำแหน่ง, นโยบาย, การบังคับบัญชา, ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างาน, ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และ/หรือผู้ใต้บังคับบัญชา, ความมั่นคงในการทำงาน และสภาพการทำงาน) ประชากรในการวิจัย คือ บุคลากรทุกคนที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษ จำนวนทั้งหมด 201 คน ซึ่งเป็นการกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเลือกเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบค่าความเชื่อมั่น(Reliability) มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน
          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล(ข้อมูลทั่วไป) ที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้วยวิธีการทดสอบไคสแควร์(Chi-Square Test) ได้แก่ 1) ข้อมูลระดับการศึกษา 2) ข้อมูลตำแหน่งทางการบริหารหรือบทบาท หน้าที่ 3) ข้อมูลประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับ PMQA 4) ข้อมูลตำแหน่งในคำสั่งคณะกรรมการหรือคณะทำงาน PMQA ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ควรเน้นให้มีการผลักดันหรือพัฒนามากที่สุด เนื่องจากการมีส่วนร่วมน้อย-น้อยที่สุด ได้แก่ ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และ/หรือไม่มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับ PMQA รวมถึง ควรกำหนดให้บุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดศรีสะเกษทุกคนมีตำแหน่งในคำสั่งคณะกรรมการหรือคณะทำงาน PMQA เพื่อเอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐได้มากขึ้น รวมทั้ง ผลการวิเคราะห์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน(Stepwise multiple regression analysis) ในการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมโดยภาพรวมที่สามารถเขียนสมการพยากรณ์ ได้แก่ ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในหัวข้อการได้รับการยอมรับ[X2] มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถเขียนสมการพยากรณ์ ได้แก่ y ̂ = 1.004 + 0.743[X2] (R2 = 0.65) สรุปได้ว่าปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในหัวข้อการได้รับการยอมรับสามารถทำนายหรือพยากรณ์การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ในจังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้อยละ 65 ในทิศทางเดียวกัน หากบุคลากรได้รับการยอมรับมาก จะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมได้มาก แต่หากบุคลากรได้รับการยอมรับน้อย จะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมได้น้อยเช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2566).รายละเอียดตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567.

กฤตภาคิน มิ่งโสภา และ ณกมล จันทร์สม. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, (23)2, 209-222.

จุฬาลักษณ์ อนุอันต์. (2560). การสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัย สิ่งแวดล้อมล้านนา, 7(2), 71-85.

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2546). การมีส่วนร่วม : หลักการพื้นฐาน เทคนิคและกรณีตัวอย่าง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สิริลักษณ์การพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. https://so02.tci-thaijo.org>article.

ประชาภรณ์ ทัพโพธิ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการ มีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, (7)2, 475-491.

พนัส จันทร์ศรีทอง. (2564). ทฤษฎีแรงจูงใจ. https://www.gotoknow.org/posts/208291.

วชิรวัชร งามละม่อม. (2559). ทฤษฎีการมีส่วนร่วม. https://learningofpublic.blogspot.com/2016/02/blog-post_79.html.

วาสนา ตรีเนตร. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(PMQA)ของบุคลากรสาธารณสุขใน เขตสุขภาพที่ 6. http://do6.new.hss.moph.go.th: 8080/fileupload_doc/2020-11-24-1-20-3920178.pdf.

สุภชา แก้วเกรียงไกร, กัลยาณี ประสมศรี, มณฑา ชาวโพธิ์, และ รวิสรา รูปสวย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ของกรมชลประทาน. http://kmcenter.rid.go.th/ kcplan/KM%20Data/Research/Reserch%20PMQA.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). (2562). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2562.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2566). หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐประจำปี 2566.

สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1),183-197.

สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป.

อชิรา เหล่าศุภวณิชย์,ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, และณัฐนารี เอมยงค์ (2566).การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของบุคลากร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, (9)2, 241-254.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E. (2019). Multivariate Data Analysis (8th ed.). Cengage.

Herzberg, Frederick., Mausner, Bernard. and Snyderman. (1959). Barbara B. The Motivation to Work. (2nd ed.). New York: John Wiley.

Huntington, S. & Nelson, S. (1975). No easy choice: political participation in developing countries. New York: Harvard University Press.