ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สุธิดา หล้าเลิศ, พย.ม
สุคนธ์ทิพย์ อรุณกมลพัฒน์, ปร.ด.

บทคัดย่อ

                        การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุ กลุ่มละ 31 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่จำหน่ายจากโรงพยาบาลมัญจาคีรี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 – กันยายน 2566 โดยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างและดำเนินการการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยในรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวทางของ DEMETHOD ในกลุ่มทดลองจนครบ 31 คน หลังจากนั้นดำเนินการในกลุ่มควบคุมโดยใช้โปรแกรมการจำหน่ายจากโรงพยาบาลในระบบปกติจำนวน 31 คน รวมระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
                         ผลการศึกษาพบว่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ทัศนคติการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ความสามารถของตน พฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับน้ำตาลในเลือดสะสม ระดับความดันโลหิตผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ของกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการทดลองแสดงว่าโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถสร้างสร้างการรับรู้และการเสริมสร้างพลังอำนาจในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD). (ระบบออนไลน์ ).สืบค้นทางอินเตอร์เน็ต วันที่14 เมษายน 2567 แหล่งที่มา :https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=29eec762c9591d1f8092da14c7462361. (16 ตุลาคม 2565)

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานประจำปี 2564 กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชน เล่มที่ 1. นนทบุรี : กองสุขศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงฯททททททท.

โกศล บุญทา.(2566).การเสริมพลังอำนาจในการดูแลตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและ

คุณภาพชีวิตของผูปวยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไมสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได. 2566.[เขาถึง

เมื่อ 14 เม.ย. 2567].เขาถึงไดจาก:

(http://www.chiangmaihealth.go.th/document/231010169690646468.pdf)

ชนิษฐ์นาฏ จุรีมาศ.(2558).ผลของการวางแผนจำหน่าย ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเสลภูมิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด). ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (2015): พฤษภาคม-สิงหาคม.p.17-23.

ธนาพร โพธิจักรและคณะ. (2552).การให้ความรู้โดยใช้สื่อวิดีทัศน์เรื่องภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานและการนวดเท้าด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. เทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 31(3), 347-353.

เยาวภา พรเวียง และคณะ. (2555). ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจแบบกลุ่มต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าและคุณภาพชีวิตในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีแผลที่เท้า. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(2): 85-97.

รัตนา นิลเลื่อม และคณะ. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 32(2), p.202-216.

แววตา เพ็งบูรณ์และ, วีรวรรณ เกิดทอง. (2567). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหาร ดัชนีมวลกาย และค่าน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่น้ำหนักเกิน คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลท่าชนะ. www.srth.go.th/home/research (Vol.1 NO.1 February-December, 2024) อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2567]; 2(2): 1-13. https://srth.go.th/home/ research.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย.(2554). สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2561).การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และ ควบคุมโรคไม่ติดต่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน ระดับประเทศ พ.ศ. 2550-2558. นนทบุรี: สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2560).แผนยุทธศาสตร์การป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ:บริษัท อิโมชั่นอาร์ต จำกัด.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2554).แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: บริษัทศรีเมืองการพิมพ์.

American Diabetes Association. (2011). Standards of medical care in diabetes 2011.

Diabetes Care, 34(Supplement 1): S11-S61.

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และ ควบคุมโรคไม่ติดต่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ พ.ศ. 2550-2558. นนทบุรี: สํานักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Bloom BS. (1968 ). Learning for mastery. Evaluation comment, 1(2). Center for the study of evaluation of instructional programs, University of California, Los Angeles, USA.

Bloom, B.S. (1956).Taxonomy of educational objectives, the classification of educational goals handbook I: Cognitive domain. New York: McKay.

Gibson, C. H. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill children.

Journal of Advanced Nursing, 21: 1201-1210.

Gray, R. E, Doan, B. D., & Church, K. (1990). Empowerment and persons with cancer:

Politics in cancer medicine. Journal of Palliative Care,6: 33-45.

Li cheng., et al. (2018). Effectiveness of patient-centred, empowerment-based intervention program among patients with poorly controlled type 2 diabetes. International journal of nursing study.,9(1), 43-

Lemeshow S, Hosmer.(1990). D.W, & Klar J. Jr. Adequacy of Sample Size in Health Studies. New York: John Wiley & Sons

Lewin, Kurt.(1951). “Field. Theory and Leaning” Ind. Cartwright Field theory in Social Science:Selected Theoretical. New York:Harper and Row.

Orem, D.E., Taylor, S.G., & Renpenning, K.M. (2001). Nursing : Concepts of practice. (6th ed.). St. Louis : mosby.

WHO. Non communicable diseases 2023.สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2566 https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases

WHO.Global Burden of Disease Collaborative Network, Global Burden of Disease Study 2019 (GBD 2019) Results (2020, Institute for Health Metrics and Evaluation – IHME) https://vizhub.healthdata.org/gbd-results/