การพัฒนาระบบการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลโพธิ์วงศ์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ทนงเพชร ปราบเสียง, ส.ม.

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลโพธิ์วงศ์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือน มีนาคม – มิถุนายน 2567 รวมระยะเวลา 14 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างตัวแทนชุมชนภาคีเครือข่ายตำบลโพธิ์วงศ์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 40 คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis & McTaggart จำนวน 2 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และสะท้อนผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม การจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการ โดยใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอันดับที่ pair- t test
             ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาระบบการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ผลการศึกษาพบว่า 1.ด้านการวางแผน มีนโยบายแผนงานสู่การปฏิบัติร่วมกับภาคีเครือข่าย ในรูปแบบคณะกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล สู่คณะกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้าน (พชม.) ถ่ายทอดระบบการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน ในเวทีชุมชน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลและภาคเอกชนในการเคลื่อนกิจกรรม เพื่อให้ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน 2.การปฏิบัติ มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ การขับขี่ปลอดภัย,สัญญาณเตือนจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในชุม,การปรับภูมิทัศน์ส่งข้อมูลให้ อปท.ลงพื้นที่ตรวจสอบ,การประสานงานช่วยเหลือในกรณีพบผู้ประสบอุบัติเหตุ,การปฐมพยาบาลที่ถูกต้องเบื้องต้น 3.การสังเกต การติดตาม ในรูปแบบ แอพพลิเคชั่นไลน์ กระตุ้นเตือน แจ้งข่าวกรณีอุบัติเหตุในชุมชนและพบจุดเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดอุบัติเหตุในชุมชน การเก็บข้อมูลเพื่อเป็นสถิติและวางแผนพัฒนาการและติดตามประเมินผล 4.สะท้อนผล การคืนข้อมูลสู่ชุมชนในเวทีต่างๆ การสร้างแรงจูงใจ ผู้ที่ดำเนินตาม มาตราการชุมชน โดยการสร้างการรับรู้ของส่วนราชการภาคีเครือข่ายประชาชนและกลุ่มเสี่ยง ต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ภูมิปัญญาของชุมชนการนำวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นป้ายจราจร ได้รับความร่วมมือของทุกภาคส่วน ด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจและวางแผน ก่อน-หลังการใช้รูปแบบฯ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05 ) 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ก่อน-หลังการใช้รูปแบบฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 3)ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

Article Details

How to Cite
ปราบเสียง, ส.ม. ท. (2024). การพัฒนาระบบการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลโพธิ์วงศ์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ, 3(4), p. 147–156. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3444
บท
บทความวิจัย

References

ละมัย หลักทอง(2567). การพัฒนาระบบการป้องกัน อุบัติเหตุจราจรทางท้องถนนโดยการใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอส่งดาว (พชอ.)จังหวัดสกลนคร วาระสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน 2567.

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ(2556). เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดทางท้องถนน Thai RSC 2566.

สมบูรณ์ จิตพิมาย(2564). ผลการจัดด่านชุมชนเพื่อป้องกันอุบัติเหตูบนทางถนน : อําเภอวัง น้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.2564:7:237-55.

จตุภพ ดิษผล วบ, อัญสุรีย์ ศิริโสภณ พย.ม (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของประชาชนในเขตอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม-มิถุนายน 2564.

สุภาภรณ์ บุญสงค์(2562).ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมความปลอดภัยต่อพฤติกรรมิความปลอดภัยในการขับขี่และการลดอุบัติการณ์ทางถนนของพนักงานขับรถพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดชลบุรี 2562.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(2561).รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2561;2562.

Patton, M. Q. (2002). Qualitative Research and Evaluation Methods (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

Mason, M. (2010). Sample size and saturation in PhD studies using qualitative interviews. Forum: Qualitative Social Research, 11(3).