ความชุกของภาวะสายตาเอียงที่เกิดขึ้นที่กระจกตาก่อนผ่าตัดต้อกระจก และผลของการผ่าตัดต้อกระจก ในผู้ป่วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย

Main Article Content

ชวิศา โรจนศักดิ์โสธร, พ.บ.
สุดารัตน์ ศาสตรธนโรจน์, พ.บ.

บทคัดย่อ

          ต้อกระจกเป็นสาเหตุของภาวะตาบอดที่พบได้บ่อย โดยภาวะสายตาเอียงที่กระจกตาก่อนผ่าตัดเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมองเห็นหลังผ่าตัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะสายตาเอียงที่กระจกตาก่อนการผ่าตัด และ ผลของการผ่าตัดต้อกระจกด้วยคลื่นความถี่สูง การวิจัยเป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่ได้รับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลวารินชำราบในช่วงระยะเวลา 1 ปี จำนวน 372 ตา จากผู้ป่วย 342 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ และหน่วยความจำของเครื่อง Carl Zeiss IOLMaster Advanced Technology V. 7.5 โดยศึกษาความชุกของภาวะสายตาเอียงที่กระจกตาก่อนการผ่าตัด และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของค่าสายตาเอียงที่กระจกตากับระดับการมองเห็นหลังผ่าตัด 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติสำเร็จรูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Independent sample t-test, one-way ANOVA และ Chi-square
           ผลการวิจัยพบว่า จำนวนตาผู้ป่วย 372 ตา จาก 342 คน ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 67.2 ± 8.8 ปี และร้อยละ 41.9 เป็นเพศชาย ค่าความเอียงที่กระจกตาก่อนการผ่าตัดเฉลี่ยอยู่ที่ 1.13 ± 0.71 D โดยความชุกของสายตาเอียงที่กระจกตา <0.5 D, 0.5 D ถึง <1.0 D, 1.0 D ถึง <2.0 D, 2.0 D ถึง <3.0 D และ ≥3.0 D อยู่ที่ 16.9%, 32.5%, 40.6%, 8.9% และ 1.1% ตามลำดับ ผลการวัดสายตาหลังการผ่าตัด (LogMAR VA) โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.15 ± 0.11, 0.19 ± 0.16, 0.24 ± 0.18, 0.29 ± 0.20 และ 0.45 ± 0.18 ตามลำดับ อัตราความสำเร็จ (LogMAR VA ≤0.3) อยู่ที่ 87.3%, 72.7%, 61.6%, 57.6% และ 25.0% ตามลำดับ (p<0.001)
ผลจากการวิจัยพบความชุกของภาวะสายตาเอียงที่กระจกตาก่อนผ่าตัดในจังหวัดอุบลราชธานีสูงกว่าภูมิภาคอื่นของประเทศไทยเล็กน้อย อัตราความสำเร็จของผลลัพธ์ด้านการมองเห็นหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีค่าสายตาเอียงที่กระจกตา <3.0 D มีมากกว่า 50% ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเลนส์ตาแบบโมโนโฟคอล (monofocal IOL) เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้

Article Details

How to Cite
โรจนศักดิ์โสธร, พ.บ. ช., & ศาสตรธนโรจน์, พ.บ. ส. (2024). ความชุกของภาวะสายตาเอียงที่เกิดขึ้นที่กระจกตาก่อนผ่าตัดต้อกระจก และผลของการผ่าตัดต้อกระจก ในผู้ป่วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ, 3(4), p. 136–146. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3477
บท
บทความวิจัย

References

Burton, M. J., Ramke, J., Marques, A. P., Bourne, R. R. A., Congdon, N., Jones, I., Ah Tong, B. A. M., Arunga, S., Bachani, D., Bascaran, C., Bastawrous, A., Blanchet, K., Braithwaite, T., Buchan, J. C., Cairns, J., Cama, A., Chagunda, M., Chuluunkhuu, C., Cooper, A., … Faal, H. B. (2021). The Lancet Global Health Commission on Global Eye Health: Vision beyond 2020. The Lancet Global Health, 9(4), e489–e551. https://doi.org/10.1016/S2214-109X(20)30488-5

International Agency for the Prevention of Blindness. (n.d.). Cataract. IAPB - International Agency for the Prevention of Blindness. https://www.iapb.org/learn/vision-atlas/causes-of-vision-loss/cataract/

Isipradit, S., Sirimaharaj, M., Charukamnoetkanok, P., Thonginnetra, O., Wongsawad, W., Sathornsumetee, B., Somboonthanakij, S., Soomsawasdi, P., Jitawatanarat, U., Taweebanjongsin, W., Arayangkoon, E., Arame, P., Kobkoonthon, C., & Pangputhipong, P. (2014). The First Rapid Assessment of Avoidable Blindness (RAAB) in Thailand. PLoS ONE, 9(12), e114245. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0114245

Lange, C., Feltgen, N., Junker, B., Schulze-Bonsel, K., & Bach, M. (2009). Resolving the clinical acuity categories “hand motion” and “counting fingers” using the Freiburg Visual Acuity Test (FrACT). Graefe’s Archive for Clinical and Experimental Ophthalmology, 247(1), 137–142. https://doi.org/10.1007/s00417-008-0926-0

Prakairungthong, N., Charukamnoetkanok, P., & Isipradit, S. (2015). Prevalence of Preoperative Corneal Astigmatism in Patients Undergoing Cataract Surgery at Mettapracharak Hospital, Thailand. Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet Thangphaet, 98(9), 878–882.

Lekhanont, K., Wuthisiri, W., Chatchaipun, P., & Vongthongsri, A. (2011). Prevalence of corneal astigmatism in cataract surgery candidates in Bangkok, Thailand. Journal of Cataract and Refractive Surgery, 37(3), 613–615. https://doi.org/10.1016/j.jcrs.2010.12.038

Prasher, P., & Sandhu, J. S. (2017). Prevalence of corneal astigmatism before cataract surgery in Indian population. International Ophthalmology, 37(3), 683-689.https://doi.org/10.1007/s10792-016-0327-z

Yu, J.-G., Zhong, J., Mei, Z.-M., Zhao, F., Tao, N., & Xiang, Y. (2017). Evaluation of biometry and corneal astigmatism in cataract surgery patients from Central China. BMC Ophthalmology, 17(1), 56. https://doi.org/10.1186/s12886-017-0450-2

Ma, W., Zuo, C., Chen, W., Zheng, S., Xu, J., Gong, R., Mijiti, M., Alifu, K., Ding, L., & Lin, M. (2020). Prevalence of Corneal Astigmatism in Patients before Cataract Surgery in Western China. Journal of Ophthalmology, 2020, 5063789. https://doi.org/10.1155/2020/5063789