อุบัติการณ์ และผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะคีโตเอซิโดซิส โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

กัญญาพร สุพิมพ์,พ.บ.

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และผลลัพธ์การรักษาของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะคีโตเอซิโดซิสในโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัยด้วยภาวะคีโตเอซิโดซิสระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2566 เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square หรือ fisher exact test ในการวิเคราะห์ความแตกต่างตัวแปรเชิงคุณภาพของกลุ่มผู้ป่วย และใช้สถิติ independent t-test หรือ  Mann-Whitney-U test ในการวิเคราะห์ความแตกต่างค่ากลางตัวแปรเชิงปริมาณของกลุ่มผู้ป่วย


            ผลการวิจัยพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะคีโตเอซิโดซิสจำนวน 90 คน อายุเฉลี่ย 54.41±14.44 ปี   เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มากที่สุดร้อยละ 93.33 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ร้อยละ 6.67 ตามลำดับ อุบัติการณ์การเกิดภาวะคีโตเอซิโดซิสใน 3 ปีคิดเป็นร้อยละ 2.05 ต่อผู้ป่วยเบาหวานที่นอนโรงพยาบาล อาการและอาการแสดงที่พบ ได้บ่อยคืออาการสัมพันธ์กับอาการของเบาหวานร้อยละ 50 อาการระบบทางเดินหายใจร้อยละ 50 อาการสัมพันธ์กับ การติดเชื้อร้อยละ 33.33 และอาการระบบทางเดินอาหารร้อยละ 32.22 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยกระตุ้นการเกิดภาวะคีโตนเอซิโดซิสสาเหตุหลักคือการไม่ร่วมมือในการรักษา (Non-adherence with treatment) ร้อยละ 77.78 การติดเชื้อร้อยละ 44.67 ยาหรือสารที่กระตุ้นให้เกิดภาวะคีโตเอซิโดซิสร้อยละ 14.44 และวินิจฉัยเบาหวานครั้งแรกร้อยละ 13.33 ตามลำดับ การวินิจฉัยภาวะคีโตเอซิโดซิสมีระดับน้ำตาลเฉลี่ย 642.73±226.32 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม(HbA1C) ร้อยละ 11.24±2.70 ระยะเวลาในการหายจากภาวะคีโตเอซิโดซิสเฉลี่ย 9.38±6.50 ชั่วโมง พบภาวะแทรกซ้อนภายใน 24 ชั่วโมงหลังการรักษาภาวะคีโตเอซิโดซีสคือ โพแทสเซียมในเลือดต่ำร้อยละ 42.22 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำร้อยละ 20 และระดับโซเดียมในเลือดสูงร้อยละ 3.33 ตามลำดับ การเกิดน้ำตาลในเลือดสูงซ้ำภายใน 24 ชั่วโมงหลังหายจากภาวะคีโตเอซิโดซิสร้อยละ 58.89  อัตราการเสียชีวิตจากภาวะคีโตเอซิโดซิสร้อยละ 4.44

Article Details

How to Cite
สุพิมพ์,พ.บ. ก. (2024). อุบัติการณ์ และผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะคีโตเอซิโดซิส โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ, 3(4), p. 157–171. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3527
บท
บทความวิจัย

References

กองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.(2565). รายงานประจำปี 2565 กองโรคไม่ติดต่อ.กรุงเทพ; สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.สืบค้นจาก https://online.fliphtml5.com/hvpvl/evzj/.

Aldhaeefi M. et al. (2022). Updates in the Management of Hyperglycemic Crisis. Front Clin Diabetes Healthc. 2022 Feb 9;2:820728. doi: 10.3389/fcdhc.2021.820728.

Anthanont P. et al. (2012). Incidences and outcomes of hyperglycemic crises: a 5-year study in a tertiary care center in Thailand. J Med Assoc Thai. 2012;95(8):995–1002.

Fayfman M. et al. (2017). Management of Hyperglycemic Crises: Diabetic Ketoacidosis and Hyperglycemic Hyperosmolar State. Medical Clinics of North America. May;101(3):587-606. doi: 10.1016/j.mcna.2016.12.011.

Gosmanov AR. et al. (2021). Hyperglycemic Crises: Diabetic Ketoacidosis and Hyperglycemic Hyperosmolar State. [Updated 2021 May 9]. In: Feingold KR, Anawalt B, Blackman MR, et al., editors. Endotext [Internet]. South Dartmouth (MA): MDText.com, Inc.; 2000-. Retrieved from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK279052/

Goguen J, Gilbert J. (2018). Diabetes Canada Clinical Practice Guidelines Expert Committee: Hyperglycemic Emergencies in Adults. Can J Diabetes. 2018 Apr;42 Suppl 1:S109-S114. doi: 10.1016/j.jcjd.2017.10.013.

James A. et Al. (2016). An Evaluation of Recurrent Diabetic Ketoacidosis, Fragmentation of Care, and Mortality Across Chicago, Illinois. Diabetes Care 1 October 2016; 39 (10): 1671–1676. https://doi.org/10.2337/dc16-0668.

Kitabchi AE. et al. (2009). Hyperglycemic crises in adult patients with diabetes. Diabetes Care. 2009 Jul;32(7):1335-43. doi: 10.2337/dc09-9032.

Shahid W. et al. (2020). Diabetic Ketoacidosis: Clinical Characteristics and Precipitating Factors. Cureus. 2020 Oct 4;12(10):e10792. doi: 10.7759/cureus.10792.

Thewjitcharoen Y et al. (2019). Clinical characteristics and outcomes of care in adult patients with diabetic ketoacidosis: A retrospective study from a tertiary diabetes center in Thailand. J Clin Translational Endocrinol. 2019 Apr 10;16:100188.