การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยการประยุกต์ใช้ปฏิทินชุมชน ตำบลเหล่ากวาง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาโดยการประยุกต์ใช้ปฏิทินชุมชน ดำเนินการในตำบลเหล่ากวาง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้กระบวนการของ Kemmis และMc taggart (1968) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1) การวางแผนการปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ 2) การลงมือปฏิบัติการตามแผน ขั้นตอนที่ 3) การติดตามสังเกตการณ์ และขั้นตอนที่ 4) การสะท้อนผล จำนวน 3 วงรอบ ระหว่างเดือน ตุลาคม 2564 ถึง กันยายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในตำบลเหล่ากวาง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ คือ DEER Model ประกอบด้วย 1) D : development capacity building การพัฒนาเครือข่าย ในการทำงานร่วมกัน 2) E : Effective planning ออกแบบรูปแบบการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาให้มีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องกับวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชน 3) E : efficiency Community calendar culture ดำเนินการป้องและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา อย่างมีประสิทธิภาพ ตามปฏิทินชุมชน 4) R : Reflection Evaluation การสะท้อนและประเมินผลการดำเนิน โดยรูปแบบที่สร้างขึ้นสามารถนำมาใช้เพื่อดำเนินการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาได้อย่างมีประสิทธิภาพและ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนที่มีบริบทใกล้เคียงได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์.(2545).วิถีชุมชนคู่มือการเรียนรู้ทำงานชุมชนง่ายได้ผลและสนุก.นนทบุรี: สำนักพิมพ์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
พรรณี บัวเล็ก. (2557). วิถีชุมชนเครื่องมือ 7 ชิ้น ที่ทำให้งานชุมชนง่าย ได้ผล และสนุก. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก 8 (4) 2557, 155 - 169
อุทัย ดุลยเกษม และอรศรี งามวิทยาพงศ์. (2540). ระบบการศีกษากับชุมชน : กรอบแนวคิดและการ เสนอเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: แปลนพริ้นติ้ง.
ธานี กลอมใจ, จรรยา แกวใจบุญ, ทักษิกา ชัชวรัตน. (2563). ความรูและพฤติกรรมของประชาชน เรื่องการปองกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุใหม 2019. วารสารการพยาบาลการ สาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. 21 (2). 29-39.
บุญเรือน ทองทิพย. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับศักยภาพของผูนําตอการพัฒนาองคการ แบบ New Normal. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(11), 434-447.
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ.(2543).กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร. ระบาดวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2540.
ภัทราพร เกษสังข. (2559). การวิจัยปฏิบัติการ. สํานักพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหวางประเทศ. (2563). รายงานโครงการการพัฒนากรอบ ยุทธศาสตรดานสาธารณสุขเพื่อตอบสนองตอการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ ประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
สุภางค์ จันทวานิช (2552). วิธีวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 13. : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kemmis, & McTaggart. (1982).Action research in retrospect and prospect. The action research reader. Geelong, Vic: Deakin University.
Kemmis, & McTaggart, R. (1988).The Action research planner, 3 rd ed. Geelong: Deakin University, Australia.
Kemmis, & Wilkinson, M. (1998).Participatory action research and the study of practice. In B. Atweh.
Spielberger, C.D., Gorsuch, R.L., & Lushene, R.E. (1970). Manual for the State-Trait Anxiety Inventory (Self Evaluation Questionnaire). Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press.