ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยภาคตัดขวาง ( A Cross-sectional analytics study)นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง(Purposive sampling) จำนวน 105 คน เก็บข้อมูลในระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ การรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้วยสัมประสิทธิ์สหพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.1 อายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 40 – 50 ปี ร้อยละ 39 มีระดับการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ร้อยละ 70.5 มีอาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม ร้อยละ 89.5 ไม่มีตำแหน่งอื่นๆในหมู่บ้าน ร้อยละ 75.2 และมีระยะเวลาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 10 -15 ปี ร้อยละ 31.5 1) ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลาง และข้อที่มีความรู้ต่ำสุดคือเข้าใจว่าการพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดยุงลาย เป็นวิธีที่ได้ผล และคุ้มค่าที่สุด เมื่อเปรียบเทียบระหว่างลักษณะทางประชากรกับความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน 2) การรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับสูง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บางคนยังขาดการรับรู้ว่าตัวเองเป็นบุคคลที่สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ เมื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรด้านอายุกับการการรับรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3) พฤติกรรมการปฏิบัติป้องกันคุมควบโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง และมีข้อที่ได้คะแนนการปฏิบัติที่ต่ำสุด คือ การให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกในชุมชน และเมื่อเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรด้านเพศกับพฤติกรรมการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 4) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะกลุ่มประชากร ความรู้ การรับรู้กับพฤติกรรมการปฏิบัติในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก พบว่าการรับรู้ความรุนแรงความเสี่ยงของโรคไข้เลือดออกมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยในครั้งนี้ ควรส่งเสริมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในด้านความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในบางข้อเพื่อให้สามารถในการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 – 12 สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค.
(2563).สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยปี 2563.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.(2562). รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา. ศรีสะเกษ: สำนักงาน.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภออุทุมพรพิสัย.(2562).รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2562.เอกสารอัดสำเนา.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2562). รายงาน 506 (DF,DHF,DSS).
ปรีดาศักดิ์ หมูแก้ว และคณะ.(2554). พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลชัยพร อำเภอบึงกาฬ
จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2554: 47-55.
ประเทือง ฉ่ำน้อย.(2558).การศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออก
ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. สำนักงานป้องกัน
ควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์.
ผ่องศรี พูลทรัพย์ และคณะ.(2558). การพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ
หมู่บ้าน (อสม.) โดยการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามสภาพจริง รพ.สต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี. วารสาร
พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.
อารีย์ เชื้อสาระถี.(2546). พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวในพื้นที่อำเภอพล จังหวัด
ขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต: 2546
ศรีสวัสดิ์ พรหมแสงและสังคม ศุภรัตนกุล.(2551). ประเมินผลการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในองค์การบริหารส่วน
ตำบลจังหวัดหนองบัวลำบัว; 2551
ชนิดา มัททวางกูร.(2557).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ในพื้นที่
รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายสี่ จังหวัดสมุทรสาคร.วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
วินัย พันอ้วน.(2560). ความรู้และทักษะในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครวสาธารณสุขประจำหมู่บ้านใน
อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.