รูปแบบการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 Step down เมื่อกลับสู่ชุมชนตำบลหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ณัฐธยาน์ พระอารักษ์
สุคนธ์ทิพย์ ง บัวแดง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 Step down เมื่อกลับสู่ชุมชนตำบลหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวม 65 คน การวิจัยใช้กระบวนการของ Kemmis และMc taggart (1968) จำนวน 3 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย ขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง 1 มิถุนายน 2565 -30 กันยายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 Step down เมื่อกลับสู่ชุมชนตำบลหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ คือ KPANNV Model ประกอบด้วย 1)Knowledge :ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 2) Perception:การสร้างการรับรู้ต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 3)Attitude:ทัศนคติต่อการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 4) Norm:บรรทัดฐานแนวทางปฏิบัติทางสังคม 5) Networking: การมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่าย    6) Value:การให้คุณค่าในความเป็นมนุษย์ ผลการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่าหลังการทดลองใช้รูปแบบการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 Step down เมื่อกลับสู่ชุมชนตำบลหนองห้าง สูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2564).รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศไทย สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2565).แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2565).การจัดบริการHome Isolation.ฉบับที่1.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2563).คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ในประเทศไทย.

กาญจนา ปัญญาธร.(2564).การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคCOVID-19 บ้านหนองสวรรค์ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ปีที่ 32 ฉบับที่1.มกราคม-มิถุนายน .

ธานี กลอมใจ,จรรยา แกวใจบุญ,ทักษิกา ชัชวรัตน.(2563).ความรูและพฤติกรรมของประชาชน เรื่องการปองกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม2019.วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. 21 (2). 29-39.

บุญเรือน ทองทิพย.(2563).โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับศักยภาพของผูนําตอการพัฒนาองคการ แบบ New Normal. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(11), 434-447.

ปัญญา พละศักดิ์.(2564).รูปแบบการจัดการภาวะวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ในเขตเมือง จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 .

รัชนี เต็มอุดมและคณะ.(2564).การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนใน จังหวัดนครพนม .วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7ขอนแก่น ปีที่ 28 ฉบับที่ 1.

ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี.(2564). การสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระหว่างวันที่ 23 มกราคม – 20 กุมภาพันธ์ 2564 .

Kemmis, & McTaggart. (1982).Action research in retrospect and prospect. The action research reader. Geelong, Vic: Deakin University.

Kemmis, & McTaggart, R.(1988).The Action research planner, 3 rd ed. Geelong: Deakin University, Australia

Wrold Health Organization.(2020).Report of the WHO-Chaina Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19).16-24 February.