ปัจจัยทำนายการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อนันต์ ถันทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางนี้ เพื่อหาปัจจัยทำนายที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุขในสังกัดสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบุคลากรที่รับผิดชอบการพัฒนางานวิชาการของโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และกลุ่มงานต่างๆ ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 173 คนใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ต่ำสุดค่าสูงสุด ค่ามัธยฐานและสถิติเชิงวิเคราะห์ (Inferential Statistics)วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยและระดับคะแนนการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุขในสังกัดสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearsonวิเคราะห์สมการทำนายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองกลุ่ม โดยใช้การใช้สถิติถดถอยเชิงพหุ Multiple Linear regression) แบบStep wise


             ผลการศึกษาพบว่า บุคลาการสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 72.8 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระหว่าง21– 30 ปี อายุเฉลี่ย38.3 ปีอายุมากที่สุด 59 ปีและอายุน้อยที่สุด 22 ปี มีประสบการณ์การทำงานมากที่สุดระหว่าง 21 ปีขึ้นไป ร้อยละ 43.9 ส่วนใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์การจัดทำผลงานวิชาการอย่างใดอย่างหนึ่งมาก่อนร้อยละ 63.0 ด้านปัจจัยนโยบายผู้บริหารต่อการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยโดยภาพรวมมีค่าคะแนน อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.48 โดยมีปัจจัยการบริหารทรัพยากรบุคคลต่องานวิจัยตัวแปรเดียวที่มีค่าคะแนนอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.96 ส่วนปัจจัยลักษณะการบริหารจัดการภายในองค์กร โดยภาพรวมมีค่าคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.39 โดยมีที่พบว่าอยู่ในระดับสูง มี2 ปัจจัย คือการสร้างบุคคลต้นแบบในองค์กรมีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.58 และการยกย่องเชิดชูเกียรติมีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.55 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุขในสังกัดสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 5 ตัวแปร คือ.การมีนโยบายเพื่อการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของผู้บริหารองค์กร (r=0.973 p-value<0.00) การกำหนดแรงจูงใจเพื่อการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของผู้บริหารองค์กร        (r=-0.183,p-value<0.017)  ปัจจัยด้านการจัดตั้งทีมวิชาการภายในองค์กร(r=-0.199   p-value<0.009) ปัจจัยด้านการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร (r=-0.259 p-value<0.001)และปัจจัยด้านกระบวนการสร้างบุคคลต้นแบบในองค์กรที่เป็นแบบอย่างที่ดี (r=-0.171, p-value<0.024) ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะระบุความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุพบว่าตัวแปรซึ่งเป็นปัจจัยทำนายคุณภาพการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุขในสังกัดสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ เรียงตามลำดับตัวแปรที่ดีที่สุดในการทำนาย ได้แก่ การมีนโยบายเพื่อการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของผู้บริหารองค์กร, การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยและการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร ตามลำดับโดยสามารถร่วมทำนายอธิบายความแปรปรวนของคะแนนของระดับพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษได้ร้อยละ 95.1(R2=0.951,SEest= 0.36969, F= 4.506, p < 0.035)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จึงควรมีการกำหนดนโยบาย การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานและการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กรเกี่ยวกับงานพัฒนาคุณภาพงานวิจัย ซึ่งจะส่งผลให้งานวิจัยของจังหวัดศรีสะเกษมีคุณภาพที่ดีต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญไทย จันทรเสนา และมานพ คณะโต. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำวิจัยของนักวิชาการสาธารณสุขที่

ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2(3): 321 – 335 กัลยา วานิชย์บัญชา (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วนิดา พิงสระน้อย.(2556).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรวิชาการกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ทิพย์วัลย์ ศรีพรม. (2554).การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของอาจารย์

มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ.5(2): 6-15

นพคุณ กสานติกุล และคณะ.(2554).ปัจจัยที่มีผลต่อการทำวิจัยสถาบันของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

สุรนารี.เข้าถึงได้จาก

http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/4820/2/Fulltext.pdf

นพวรรณ รื่นแสง, เบญจมาศ เป็นบุญ, และวรวรรณ สโมสรสุข (2555).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานวิจัยของบุคลากร

สายสนับสนุนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. หน่วยวิเคราะห์แผน งบประมาณและวิจัย

สถาบัน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ (รายงานการวิจัย).

วัฒนา พัดเกตุ. (2555).การศึกษาเจตคติในการทำวิจัยและปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัยของอาจารย์คณะ

มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. เข้าถึงได้จาก :

http://www.human.nu.ac.th/jhnu/journal_detail.php?a_id=121&v_id=3

บุญญาภา โพธิ์ทองและนุจรี ไชยมงคล.(2557). ปัจจัยทำนายความสุขในการทำงานของอาจารย์พยาบาล.วารสารคณะ

พยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรฑา.ปีที่ 22 ฉบับที่ 4(ตุลาคม-ธันวาคม 2557).

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.(2564). รายงานการจัดทำผลงานวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.:

จังหวัดศรีสะเกษ.

อนัญฐ์ณิศา มณีวงศ์, นฤมล เอื้อมณีกูล, สุรินธร กลัมพากร และวันเพ็ญ แก้วปาน.(2559).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ

สมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขในเขตภาคกลาง.วารสารพยาบาลสาธารณสุข; ปีที่

ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2559

Best. J. W. and Kahn J.V. Research In Education. 7 th ed. Boston, M.A. : Allyn And Bacon. 1993.

Lemeshow, S., Hosmer, D. W., Klar, J., Lwanga, S. K., & Organization, W. H. (1990). Adequacy of sample

size in health studies. Chichester: Wiley.