การพยาบาลมารดาตกเลือดหลังคลอดจากภาวะรกค้าง : กรณีศึกษา โรงพยาบาลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

Siltham Theangtae

บทคัดย่อ

ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนของการคลอดและเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของมารดาดังนั้น การให้การพยาบาลมารดาในระยะรอคลอด ระยะคลอด ระยะหลังคลอดและการเตรียมจำหน่าย ที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพจะช่วยให้มารดาปลอดภัยและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ ผู้วิจัยได้ศึกษาผู้คลอดที่รับบริการคลอดในโรงพยาบาลห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษช่วงเดือนสิงหาคม 2565ที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดจากภาวะรกค้าง จำนวน 1 ราย โดยการศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนผู้คลอด การสัมภาษณ์ การสังเกต ผู้คลอดและญาติ การให้การพยาบาลตั้งแต่ระยะรอคลอด ขณะคลอด หลังคลอด ถึงจำหน่ายกลับบ้าน วิเคราะห์การพยาบาลผู้คลอดด้วยกระบวนการพยาบาล ได้แก่ การประเมินปัญหาทางการพยาบาลด้วย แบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอนและการจัดการรายกรณีตามแนงทางของCMSA(2016) ได้แก่การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การให้การพยาบาล และการประเมินผลลัพธ์ ผลการศึกษา พบว่าแนวทางการพยาบาลการจัดการรายกรณี มารดาตกเลือดหลังคลอดที่มีภาวะรกค้าง พยาบาลต้องสามารถจัดทำระบบในการจัดการดูแลรักษาภาวะวิกฤติในมารดาและทารกได้ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ รวมถึงระบบการประสานงานกับสหสาขาวิชาชีพและญาติเพื่อให้การดูแลมารดาได้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาทักษะการประเมินและการดูแลรักษาพยาบาลหญิงคลอดจากภาวะรกค้าง ให้แก่พยาบาลห้องคลอดและสหสาขาวิชาชีพ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตของหญิงคลอดในโรงพยาบาลห้วยทับทันต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือเวชปฏิบัติการคลอดมาตรฐาน. กลุ่มงานพัฒนานโยบายและ ยุทธศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข (2562).กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ISSN 0857 – 3093

กฤษณา สารบรรณ และคณะ (2565). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2-24 ชั่วโมง หลังคลอด หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลหนองคาย Y2022-14

ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์ (2561).การดูแลรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดเฉียบพลันจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีด้วยกระบวนการ TIME. ใน วิบูลย์ เรืองชัยนิคม และคณะ (บ.ก), เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ 4.0 เพื่อสุขภาพที่ดีของครอบครัวไทย (น.59-67) กรุงเทพฯ : บริษัทธนาเพลส จำกัด

บุษยรัตน์ วงศ์วิริยะเวช, ณัฎฐพร จันทร์แสนโรจน์, และชุติมา เทียนชัยทัศน์.(2561).การศึกษาปัจจัยส่งผลการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

พเยาว์ บุญที (2564). การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่ตกเลือด. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ปีที่ 44 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2564

ทิพวรรณ ศรีเจริญ.(2560).การตกเลือดหลังคลอด:บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกันสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2560

ราชวิทยาลัยสูตินรีเวชแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2562-2564. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกหดรัดตัวไม่มีดี RTCOG Clinical Practice Guigeline Prevention and Management of Atonic Postpartum Hemorrhage ใน รัตยา โพธิผลิ กาพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดและภาวะช็อก. Trat Hospital Plublication 30 พฤศจิกายน 2563.

โรงพยาบาลห้วยทับทัน. (2565). ข้อมูลทะเบียนคลอดโรงพยาบาลห้วยทับทันประจำปี 2565 โรงพยาบาลห้วยทับทัน. มปท

สุภานัน ชัยราช.(2560) Nursing role : Saving Mothers from Massive Management in Postpartum Hemorrhage.ใน รัตยา โพธิผลิ การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดและมีภาวะช็อก. Trat Hospital Plublication

พฤศจิกายน 2563.

อนุศร การะเกษ,และนงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. (2560). ผลของรูปแบบการพยาบาลผู้จัดการรายกรณี ต่อผลลัพธ์ที่คัดสรรในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่2 ที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด ณ แผนก อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลและการดูแล สุขภาพ, 35(1), 119-127.

Case Management Society of America.(2010)Standards of practice for case management. RetrievedJanuary15,2016.

Gordon, M. (1994). Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw-Hill.

Murray, S.S. and McKinney, E.S. 2014. Pain management during childbirth. In Foundation of Maternal-Newborn and Women’s Health Nursing. 6th ed.,(pp. 278-282). United States of America : Saunders Elsevier.

Perry E, Hockenberry MJ, Lowdermilk DL, Winson D. Postpartum complications. In: Maternal child nursing care. 4 th ed. Maryland Heights, Mo.: Mosby Elsevier; 2010

Queensland Maternity and Neonatal Clinical Guidelines Program. 2012. Primary postpartum hemorrhage. Queensland Maternity and Neonatal Clinical Guideline.

World Health Organization. 2009. WHO guidelines for the management of postpartum hemorrhage and

retained placenta.France: WHO Library Cataloguing-in-Publication Data

World Health Organization. WHO recommendations for the prevention and treatment of postpartum hemorrhage. Italy: WHO; 2012

World Health Organization, UNICEF, UNFPA, and the United Nation Population Division. Trends in maternal mortality: 1990 to 2013. Switzerland: WHO; 2014