ผลของโปรแกรมการพยาบาลเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา ในศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการราชานุกูลต่อคุณภาพชีวิตเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา

ผู้แต่ง

  • โสภณ สวัสดิ์ สถาบันราชานุกูล
  • ประภาพรรณ เตชะจิตต์โชคเกษม สถาบันราชานุกูล
  • ภัสสร จิตสงบ สถาบันราชานุกูล

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพยาบาลเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาในศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการราชานุกูล, การพยาบาลแบบองค์รวม, ณภาพชีวิตที่เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา, เด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาในศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการราชานุกูล 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของเด็กบกพร่องฯ ก่อนและหลังใช้โปรแกรมฯ

วัสดุและวิธีการ การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กบกพร่องฯ อายุ 1 ปี 6 เดือนถึง 5 ปี ที่รับบริการ ณ ศูนย์ส่งเสริมฯ และเข้าร่วมโปรแกรมฯ ระหว่าง 5 มิถุนายน - 20 สิงหาคม 2561 จำนวน 20 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ โปรแกรมการพยาบาลเด็กบกพร่องฯ ในศูนย์ส่งเสริมฯ ซึ่งผู้วิจัยนำโปรแกรมการพยาบาลเด็กบกพร่องฯ ของศูนย์ส่งเสริมฯ (คลองกุ่ม) ที่มีค่าความตรงตามเนื้อหา .93 และค่าความเชื่อมั่น .89 มาพัฒนาตามแนวคิดการพยาบาลแบบองค์รวม และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กบกพร่องฯ โดยใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิตเด็กรุ่นที่ 4.0 พัฒนาโดย Dr. James W Varni ฉบับรายงานของผู้ปกครองที่แปลเป็นไทยแล้วมีค่าความน่าเชื่อถือ .83 ค่าความเชื่อมั่น .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ โดยใช้ Paired t-test

ผล คุณภาพชีวิตเด็กบกพร่องฯ หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ในศูนย์ส่งเสริมฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และคะแนนเฉลี่ยกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมเพิ่มขึ้นกว่าก่อนได้รับโปรแกรมทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยก่อนการทดลองมีคะแนนคุณภาพชีวิตภาพรวม  2.18 และหลังการทดลองมีคะแนน 2.79 ค่า p-value <.001

สรุป โปรแกรมการพยาบาลเด็กบกพร่องฯ ในศูนย์ส่งเสริมฯ สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กบกพร่องฯ ได้

References

ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการราชานุกูลคลองกุ่ม.คู่มือโปรแกรมบริการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการราชานุกูล (คลองกุ่ม). กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล; 2560.

สำนักยุทธศาสตร์ สถาบันราชานุกูล.เอกสารประกอบการประชุมยุทธศาสตร์.กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล;2560.

Landrum P,Beck K, Rawlins P, Williams R. Mental Health Psychiatric Nursing: A Holistic Life- Cycle Approach. 17-37;1993.

Bastiaansen D, Koot HM, Ferdinand RF, Verhulst FC. Quality of life in children with psychiatric disorders: Self-, parent, and clinician report. J AM ACAD CHILD ADOLESC PSYCHIATRY 2004; 43: 221-230.

ปาณิสรา ปาลาศ. การใช้กิจกรรมเล่านิทานเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการพูดความจริงในเด็กอนุบาล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

สำนักพัฒนาคุณภาพสถาบันราชานุกูล.เอกสารข้อมูลคะแนนคุณภาพชีวิต.กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล;2561.

ธัญลักษณ์ วั่นเลี่ยง. คุณภาพชีวิตของเด็กที่มีภาวะออทิสติกสเปกตรัมในมุมมองของผู้ดูแล.[วิทยานิพนธ์แพทย์ประจำบ้าน]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

Chiang HM, Wineman I. Factors associated with quality of life in individuals with autism spectrum disorders: A review of literature. Research in Autism Spectrum Disorders 2014; 8(8): 974-986.

Varni JW, Limbers CA, Burwinkle TM. Impaired health-related quality of life in children and adolescents with chronic conditions: a comparative analysis of 10 disease clusters and 33 disease categories/ severities utilizing the PedsQL™ 4.0 Generic Core Scales. Health and Quality of Life Outcomes 2007; 5: 43-57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23