ผลการพัฒนาผู้บกพร่องทางสติปัญญา สู่การทำงานในสถานประกอบการ กรณีศึกษา สถาบันราชานุกูล

ผู้แต่ง

  • ศิโรรัตน์ นาคทองแก้ว สถาบันราชานุกูล
  • จารุพัชร์ ฉลาดแพทย์ สถาบันราชานุกูล

คำสำคัญ:

โปรแกรมพัฒนาทักษะพื้นฐานการทำงานแก่ผู้บกพร่องทางสติปัญญา , ผู้บกพร่องทางสติปัญญา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาผลการพัฒนาผู้บกพร่องทางสติปัญญาสถาบันราชานุกูลสู่การทำงาน และศึกษาเจตคติเกี่ยวกับการทำงานของผู้บกพร่องทางสติปัญญา

วัสดุและวิธีการ  เป็นการศึกษาวิจัยเชิงผสมผสานวิธีโดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเป็นผู้บกพร่องทางสติปัญญา 15 คนหัวหน้างาน/เพื่อนร่วมงาน 15 คน และผู้ปกครอง 15 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินทักษะทางสังคมและทักษะพื้นฐานในการทำงาน แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บกพร่องทางสติปัญญา หัวหน้างาน/เพื่อนร่วมงาน และผู้ปกครองเกี่ยวกับเจตคติที่มีต่อการทำงานและผู้บกพร่องทางสติปัญญา การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้สถิติการวิเคราะห์เชิงแบบพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Friedman Test และ Post HOC. Test

ผล  หลังการฝึกอบรมโดยใช้โปรแกรมพัฒนาทักษะพื้นฐานการทำงานในการฝึก ผู้บกพร่องทางสติปัญญามีทักษะทางสังคมและทักษะพื้นฐานการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านเจตคติเกี่ยวกับการทำงาน ผู้บกพร่องทางสติปัญญา และหัวหน้างาน/เพื่อนร่วมงานเห็นด้วยระดับปานกลาง ผู้ปกครองเห็นด้วยระดับมาก

สรุป  โปรแกรมพัฒนาทักษะพื้นฐานการทำงานแก่ผู้บกพร่องทางสติปัญญา สามารถนำไปพัฒนากระบวนการและรูปแบบการฝึกทักษะการปรับตัวทางสังคมและทักษะพื้นฐานในการทำงานเป็นองค์ความรู้และหลักสูตรในการฝึกทักษะการปรับตัวทางสังคมและทักษะพื้นฐานในการทำงานแก่ผู้บกพร่องทางสติปัญญาสู่การทำงาน เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการทำงานแก่ผู้บกพร่องทางสติปัญญาต่อไป

References

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน และ Workability Thailand. รายงานสรุปสถานการณ์การจ้างงานคนพิการปี 2560 และทิศทางการปรับกลยุทธ์ปี 2561.กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน:2561.

สดใส คุ้มทรัพย์อนันต์. โอกาสการทำงานของผู้บกพร่องทางสติปัญญา . เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการครั้งที่ 5 ประจำปี 2556. กรุงเทพฯ:คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2556.

กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ สถาบันราชานุกูล. คู่มือการปฏิบัติงาน/คู่มือการให้บริการประชาชน กระบวนงานที่ 1 ชื่อกระบวนงาน การให้บริการพัฒนาทักษะพื้นฐานการทำงานแก่ผู้บกพร่องทางสติปัญญา. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล; 2559.

กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ สถาบันราชานุกูล. คู่มือหลักสูตรโปรแกรมการพัฒนาทักษะพื้นฐานการทำงานแก่ผู้บกพร่องทางสติปัญญา. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล; 2559.

The Employment Security Bureau Ministry of Labor Japan. Rehabilitation Service For People with Retardation in Japan in The Japan League for The Mentally Retarded. Japan: Ministry of Labor Japan;1977.p30-1.

Jame SP. The Strategies of Teaching for Special Children. Vergenia:The United State of America;1972.

ป.มหาขันธ์.สอนเด็กให้ทำงาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์; 2542.

Berkich TP. Employers and nonhandicapped co-workers perception of mentally retarded adults work skills for the service industry environment in the state of Delaware. [EdD Dissertation].Temple University;1993.

Olson D, Cioffi A, Yovanoff P, Mank D. Employers’ perceptions of employees with mental retardation. Journal of Vocation Rehabilitation 2001;16(2):125-33.

กัลยา สูตะบุตร. แบบเรียนและคู่มือครู ทักษะพื้นฐานทั่วไปและลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน.กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลราชานุกูล; 2537.

ขวัญชนก ผลประดิษฐ์. คุณภาพชีวิตการทำงานของผู้บกพร่องทางสติปัญญาที่ได้รับการจ้างงานในองค์กรภาคเอกชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2555.

ฉลวย จุติกุล.แนวคิดการปฏิรูปการจัดบริการและการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์จิตเวช สำหรับบุคคลปัญญาอ่อนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2544.

ฉลวย จุติกุล และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่องการติดตามผลการประกอบอาชีพของบุคคลปัญญาอ่อน.กรุงเทพฯ : ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลราชานุกูล; 2522.

ชลลดา ชนะศรีรัตนกุล.การเตรียมความพร้อมผู้พิการก่อนประกอบอาชีพ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2548.

ธิดา นพรัตน์, ชนิสา เวชวิรุฬห์, ศิโรรัตน์ นาคทองแก้ว. รายงานการวิจัยเรื่องการทำงานของบุคคลปัญญาอ่อนหลังผ่านโครงการทดลองจ้างงานของโรงพยาบาลราชานุกูล. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลราชานุกูล กรมสุขภาพจิต;2546.

วัณรุณี คมกฤส และคณะ.รายงานการวิจัยเรื่องการสำรวจการเตรียมความพร้อมในการพึ่งพาตนเองของบุคคลปัญญาอ่อน. กรุงเทพฯ:มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทยในพระราชินูปถัมภ์;2548.

วัลย์ลิกา สังข์ทอง, วารุณี เมฆอารียะ, สุรีย์ วิริยะประสาท.รายงานการวิจัยเรื่องการประเมินผลโครงการทดลองจ้างงานบุคคลปัญญาอ่อน.กรุงเทพฯ:โรงพยาบาลราชานุกูล กรมสุขภาพจิต;2543.

วาสนา ตะเภาพงษ์.การสร้างโอกาสการมีงานทำของคนพิการ.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2537.

วิไลภรณ์ โคตรบึงแก, ศิริพงษ์ ศรีอาคะ. ความพิการ ความยากจนและการดำรงชีวิต การศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมของคนพิการ .เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2556. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2556.

ศิโรรัตน์ นาคทองแก้ว.รายงานการวิจัยเรื่อการประเมินรูปแบบในการฝึกทักษะการปรับตัวทางสังคมและทักษะพื้นฐานในการทำงานแก่

ผู้บกพร่องทางสติปัญญาสู่การจ้างงาน.กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล;2551.

ศิโรรัตน์ นาคทองแก้ว, สรรกมล กรนุ่ม. รายงานการวิจัยเรื่องการติดตามผลการทำงานของบุคคลปัญญาอ่อน ที่ได้รับการจ้างงานในสถานประกอบการหลังผ่านการฝึกอบรมในโครงการทดลอง จ้างงานบุคคลปัญญาอ่อน สถาบันราชานุกูล.กรุงเทพฯ:สถาบันราชานุกูล;2548.

สดใส คุ้มทรัพย์อนันต์. โอกาสการทำงานของผู้บกพร่องทางสติปัญญา . เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการครั้งที่ 5 ประจำปี 2556. กรุงเทพฯ:คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2556.

สุจินต์ สว่างศรี.รายงานการวิจัยเรื่องการส่งเสริมอาชีพคนพิการทางสติปัญญาของโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูลของโรงเรียนลพบุรี.ลพบุรี :สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย.ลพบุรี:โรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล;2550.

สุรพล ปธานวนิช และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่องชีวิตการทำงานของลูกจ้างพิการในประเทศไทย.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2540.

สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์.รายงานการวิจัยเรื่องระบบสนับสนุนการจ้างงานคนพิการในตลาดแรงงานเปิด. ลพบุรี:มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ;2552.

สถาบันราชานุกูล.คู่มือการดูแลและฝึกพื้นฐานการทำงานแก่ผู้บกพร่องทางสติปัญญาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การทำงาน สำหรับผู้ฝึกสอนงาน (Job Coach). พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ:บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด;2560.

โรงพยาบาลศรีธัญญา.แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชสู่สุขภาวะ : การจ้างงานสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่1. นนทบุรี:บริษัทพรอสเพอรัสพลัส จำกัด;2559.

AbdelAziz S, Yaser SNO, Al Muhairy RM. Obaidat.Skills-Based Training Program for People with Intellectual;1999 [Cited 2019 Mar10]. Available from: https://www.researchgate. net/publication/319286166.

Babara M. Basic Principles in Job Training and Job Placement for People with Intellectual Disabilities. (Senior Specialist in Vocational Rehabilitation, ILO);2000.

Tomas B, Ander K, Berth D, Eva B.Employment Opportunities for Persons with Different types of Disability.Science Direct;2014.

Hill JW, Hill MP, Ball P, Pendleton P, Britt C. Demographic analysis related to successful job retention in competitive employment for people who are mentally retarded. Virginia: Commonwealth University; 1984.

Maria LG, Teresa S, Brasília MC, Flávia Heloísa DS. Effects of Training on a Group of People with Intellectual Disabilities Disabilities;2016 [Cited 2019 Mar 10]. Available from https://www.researchgate. net/publication/29586011.

Orem DE. Nursing : Concepts of Practice. St. Louis : Mosby Year Book; 1985.

Profaca LC.Supported employment and vocational rehabilitation among Vocational persons with mental retardation. [PhD.Dissertation]. California Institute of Integral Studies;2000.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-02