การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อเพิ่มสมาธิ ของเด็กบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง อายุ 6-12 ปี
คำสำคัญ:
กิจกรรมศิลปะ, สมาธิ, เด็กบกพร่องทางสติปัญญาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อเพิ่มสมาธิของเด็กบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง อายุ 6-12 ปี
วัสดุและวิธีการ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง โดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระดับสมาธิของเด็กบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะ และคะแนนเฉลี่ยทักษะความถนัดทางศิลปะของเด็กบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะ กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง อายุ 6-12 ปี จำนวน 8 คน กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการสอนกิจกรรมศิลปะตามแผนการสอนที่กำหนดไว้จำนวน 2 แผนการสอน โดยใช้เวลาสอนแผนละ 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินปัญหาด้านสมาธิ แบบประเมินความถนัดทางศิลปะ และคู่มือรูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อเพิ่มสมาธิของเด็กบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง อายุ 6-12 ปี เครื่องมือทั้ง 3 ฉบับ ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยใช้ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .93, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon sign rank test
ผล คะแนนเฉลี่ยระดับสมาธิของเด็กบกพร่องทางสติปัญญาที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะหลังการทดลองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยทักษะความถนัดทางศิลปะของเด็กบกพร่องทางสติปัญญาที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะหลังการทดลองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุป รูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อเพิ่มสมาธิของเด็กบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง อายุ 6-12 ปี มีประสิทธิผลสามารถช่วยให้เด็กบกพร่องทางสติปัญญามีระดับสมาธิเพิ่มขึ้นได้ มีสมาธิในการเรียนวิชาภาษาไทยด้านการเขียนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะความถนัดทางศิลปะของเด็กบกพร่องทางสติปัญญา สามารถนำไปเผยแพร่และประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการฝึกได้
References
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งประเทศไทย.รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย; 2559.
American Psychiatric Association. In: Neurodevelopmental Disorders, editor. American Psychiatric Association Diagnostic and statistical manual of mental disorders 5th ed (DSM-5). Washington DC: American Psychiatric Publishing; 2013. p. 31-86.
สมพร คำมูล. ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองด้านการแต่งกายของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยการใช้ชุดกิจกรรมการแต่งกาย: ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2554.
แจ่มจันทร์ อินทะผล. ผลการใช้ชุดพัฒนาการเตรียมความพร้อมทางวิชาการด้านร่างกายของเราที่มีต่อความสามารถ การบอกหน้าที่ส่วนต่างๆของร่างกายของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดปทุมธานี; 2557.
Sue DW, Lin AI, Torino GC, Capodilupo CM, Rivera DP. Racial microaggressions and difficult dialogues on race in the classroom. Cultural diversity and ethnic minority psychology. 2009;15(2):183.
มณีรัตน์ ภูทะวัง การพัฒนาการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อฝึกสมาธิเด็กปฐมวัย: ปริญญานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2560.
สุวัฒน์ ทรงเกียรติ. ศิลปะองค์ประกอบของดนตรีสากล. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาดนตรี คณะ มนุษยศาสตร์; 2540.
ยุวดี พรธาราพงศ์และคณะ. การออกแบบชุดอุปกรณ์การระบายสีเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ และช่วยฝึกสมาธิสำหรับเด็กสมาธิสั้น. วารสารวิชาการและวิจัย มทร พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2555;6(2).
รัชนีกร ชะตางาม. การสร้างสรรค์ศิลปะสื่อผสมพื้นที่แห่งความสุข กรณีศึกษาศิลปะบำบัดเพื่อพัฒนาสมาธิในเด็กสมาธิสั้น: ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2560.
อรจิรา จะแรบรัมย์. ผลของกิจกรรมศิลปะบำบัดในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กออทิสติก. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2562;6(1).
Al Hariri A, Faisal E. Effects of teaching art activities by using the playing method to develop skills in preschool children with attention deficit hyperactivity disorder. Journal on Developmental Disabilities. 2013;19(1):79.
วสิฐินี เวทย์วิชานันท์และวาระดี ชาญวิรัตน์. การใช้ชุดกิจกรรมศิลปะพัฒนาความสามารถในการจดจ่อ ตั้งใจทำงานของเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ที่มีภาวะสมาธิสั้น. วารสารราชพฤกษ์ 2562;17(2).
Harrow AJ. A taxonomy of the psychomotor domain: A guide for developing behavioral objectives: Longman Publishing Group; 1972.
สุมิตรา อุ่นเปีย. ผลการจัดกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดของแฮร์โรว์ที่มีต่อความสามารถในการปั้น ของเด็กอายุ 9-11 ปี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 2557;9(1).
วัฒนา รัตนพรหมและวรรณดี ธานีรัตน์. การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง การรำมโนราห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน ทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี; 2560.
สุกุล ศิลารักษ์. รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาทักษะการเขียนด้วยชุดแบบฝึกการเขียน บันได 9 ขั้นสู่การเขียนชื่อ-สกุลของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล. 2562.
วนิดา ชนินทยุทธวงศ์และคณะ. แบบประเมินปัญหาพฤติกรรมในเด็กบกพร่องทางสติปัญญา. กลุ่มงานจิตวิทยา สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
ศศศร เดชะกุล. การพัฒนาชุดกิจกรรมทัศน์ศิลป์สร้างสรรค์ แบบเทคนิคซินเนคติกส์สำหรับเด็ก. 2553
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สุจิตรา สุขเกษม, chayanis Wongsakul
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารราชานุกูล กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น