ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ปกครอง ในการดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญา
คำสำคัญ:
โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ปกครอง, เด็กบกพร่องทางสติปัญญา, การรับรู้สมรรถนะในการดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญา, พฤติกรรมการดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญา, ทักษะการดำรงชีวิตประจำวันของเด็กบกพร่องทางสติปัญญาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ปกครองในการดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญา โดย 1) เปรียบเทียบคะแนนการรับรู้สมรรถนะและพฤติกรรมการดูแลฯ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ของกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบคะแนนการรับรู้สมรรถนะและพฤติกรรมการดูแลฯ หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
วัสดุและวิธีการ วิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง อายุ 12-18 ปี รับบริการในสถาบันราชานุกูล เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2563 คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย เครื่องมือดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ปกครองในการดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญา และเครื่องมือกำกับการทดลองได้แก่ แบบประเมินทักษะการดำรงชีวิตประจำวันของเด็กบกพร่องทางสติปัญญา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตินอนพาราเมตริก ได้แก่ Wilcoxon Signed - rank test และ Mann - Whitney U Test
ผล ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโปรแกรมฯ มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะและพฤติกรรมการดูแลฯ ทั้งภาพรวมและรายด้านสูงขึ้น ค่าเฉลี่ยอันดับการรับรู้สมรรถนะและพฤติกรรมการดูแลฯ ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 และค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะและพฤติกรรมในการดูแลฯ ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนค่าเฉลี่ยอันดับการรับรู้สมรรถนะและพฤติกรรมการดูแลฯ ของทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
สรุป โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ปกครองในการดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญาช่วยส่งเสริมให้ผู้ปกครองรับรู้สมรรถนะและมีพฤติกรรมการดูแลฯ สูงขึ้น
References
กัญญาณัฐ สิทธิยศ และมานิตย์ ไชยกิจ. การพัฒนาสมรรถนะของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก. 2559;12(15):4-20.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ. สถาบันราชานกุล. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล; 2562.
กลุ่มภารกิจการพยาบาล. แบบประเมินสมรรถนะทางสังคม (Social Competence). สถาบันราชานุกูล. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล; 2562.
Bandura. Self –efficacy. New York: W.H. Freeman;1997.
ณัฐธิดา ปัญญาธนคุณ,แสงทอง ธีระทองคำ,สมนึก สกุลหงส์โสภณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลเด็กสมองพิการของญาติผู้ดูแลในกรุงเทพมหานคร. 2562;6(1):5-18.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. ความบกพร่องทางสติปัญญา.[อินเทอร์เนต].2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2562]; เข้าถึงจาก https://www.happyhomeclinic.com/academy/sp05-mr.pdf.
ทิพย์สุดา แสนดี. ผลการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ น้ำหนัก และค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชน.[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา;2559.
นพวรรณ ศรีวงค์พานิช. ภาวะปัญญาอ่อน/ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา. 2552;31-56.
นพวรรณ ศรีวงค์พานิช, พัฏ โรจน์มหามงคล. ภาวะปัญญาอ่อน/ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา. ใน: ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด;2554
นพวรรณ ศรีวงค์พานิช, และอิสราภา ชื่นสุวรรณ. ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disability) ใน สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, บานชื่น เบญจสุวรรณเทพ, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู,จริยา จุฑาภิสิทธิ์, และพัฏ โรจน์มหามงคล (บรรณาธิการ), ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 4. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด;2561
ยุ้กฟอง ศรีประสาธน์. ผลของโปรแกรมเตรียมจำหน่ายบุคคลบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลางอายุ 15-35 ปี; 2562.
ศรัณย์ ปองนิมิตพร, สุดธิดา แก้วขจร, ลาวัลย์ สมบูรณ์ และนิตยา ไทยาภิรมย์. ความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสอนเรื่องเพศในเด็กปฐมวัย ของบิดามารดา. 2560;28-37.
โสพิส สุมานิต, เรณู พุกบุญมี, เสริมศรี สันตติ และศรีสมร ภูมนสกุล. ผลของการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะ การมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤตของผู้ดูแล. Ramathibodi Nursing Journal[อินเทอร์เนต].2552 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2562];17(1), 63-74. เข้าถึงจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9055.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ภาวินี บุญสวรรค์ส่ง, จิรพรรณ สาบุญมา, ธัสร์สอร กลางประพันธ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารราชานุกูล กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น