ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซิส ของประชาชนตำบลหนองฮาง อำเอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค เลปโตสไปโรซิสของประชาชนตำบลหนองฮาง อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 282 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างกันยายน – ธันวาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อระดับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีส ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Pearson product moment Correlation Coefficient ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ระดับดีร้อยละ 27.66 ระดับปานกลางร้อยละ 62.77 และระดับต่ำร้อยละ 9.57 ด้านทัศนคติพบว่าระดับดีร้อยละ 12.06 ระดับปานกลางร้อยละ 76.95 และระดับต่ำร้อยละ 10.99 ด้านพฤติกรรมระดับดีร้อยละ 14.89 ระดับปานกลางร้อยละ 68.09 และระดับต่ำร้อยละ 17.00 และกลุ่มตัวอย่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนตำบลหนองฮาง อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่าการศึกษาและรายได้จะมีความสัมพันธ์ระดับความรู้อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 อายุและตำแหน่งทางสังคมมีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ดังนั้นควรเน้นการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเลปโตสไปโรซีส และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรค เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข.(2540).คู่มือโรคติดต่อทั่วไป.พิมพ์ครั้งที่ 2.นนทบุรี.
กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข.(2542).คู่มือวิชาการโรคเลปโตสไปโรซิส.พิมพ์ครั้งที่ 1.นนทบุรี.
กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข.(2542).รายงานเฝ้าระวังโรครายสัปดาห์.กระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี.
กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข.(2563).รายงานเฝ้าระวังโรครายสัปดาห์.กระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี.
กานดา พาจรทิศ.(2551).ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสของเกษตรกรชุมชนดงมะตะ
อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ขจรศักดิ์ ศิลปโภชากุงและคณะ.(2541).การป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส.กองระบาดวิทยา.กระทรวงสาธารณสุข.
นนทบุรี.
วรารัตน์ สังวะสี.(2558).ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนในเขตพื้นที่น้ำท่วม
ซ้ำซาก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ
“สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อความก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน”ครั้งที่ 2 18-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัย
นครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา:ภาคโปสเตอร์.
วัฒนาพร รักวิชา.(2557).พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีส(โรคฉี่หนู) ของประชาชนอำเภอ
ศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู .วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2557:1801-1806
สำนักงาสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.(2563).รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาปี 2563.งานควบคุมโรคติดต่อ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.(อัดสำเนา)
สำนักระบาดวิทยา.(2554).รายงานการเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซีส ปี พ.ศ.2550-2554.กรมควบคุมโรค กระทรวง
สาธารณสุข.นนทบุรี.
อรุณ จิรวัฒน์กุลและคณะ.(2534) .ชีวสถิติ .คลังนานาวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2.ขอนแก่น.