การพัฒนาระบบบริการทางไกลในการคัดกรองโรคสมาธิสั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย Research and development โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้ระบบทางไกลในการคัดกรองโรคสมาธิสั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบ (System Theory) แบ่งเป็น 3ขั้นตอน 1)การวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงบริการผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้น2)การพัฒนาระบบทางไกลในการเพิ่มการเข้าถึงบริการโรคสมาธิสั้น3)การประเมินผลของระบบทางไกลในการเข้าถึงบริการโรคสมาธิสั้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างในการพัมนาระบบและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินผลได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 135 คนและ เครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการคัดกรองจำนวน207คน ศึกษาระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2564–กรกฎาคม 2565 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบคัดกรองผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นด้วยระบบบริการสุขภาพทางไกล2)แบบสังเกตพฤติกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ออทิสซึม แอลดีและเด็กเรียนรู้ช้าอายุ 6-12 ปี 3) แบบประเมินพฤติกรรมสมาธิสั้น SNAP-IV (Short Form) 4) แบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการและเครือข่าย5)แบบรวมรวมข้อมูลการเข้าถึงบริการโรคสมาธิสั้น-วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ความถี่ ร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่าจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปี 2564 ส่งผลให้ปัญหาในการเข้าถึงบริการโรคสมาธิสั้นของเด็กต่ำกว่าค่าเป้าหมายและไม่สามารถดำเนินงานคัดกรองเด็กสมาธิสั้นในรูปแบบเดิมได้ผู้วิจัย จึงได้พัฒนารูปแบบการคัดกรองเด็กสมาธิสั้นเป็นระบบบริการทางไกลจำนวน8ขั้นตอนดังนี้ 1)ใช้แบบคัดกรองด้วยแบบสังเกตพฤติกรรมเด็กที่มีความเสี่ยงต่อสมาธิสั้น ออทิสซึม แอลดี และเด็กเรียนรู้ช้า (สถาบันราชานุกูล) 2) คัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้นโดยใช้เครื่องมือ SNAP-IV โดยครูผ่านระบบออนไลน์ (กูเกิลฟอร์ม) ที่มีระดับคะแนน ≥ 6 3) ผู้ปกครองคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้นโดยใช้เครื่องมือSNAP-IVผ่านระบบออนไลน์ (กูเกิลฟอร์ม) ที่มีระดับคะแนน ≥ 6 4) พยาบาลจิตเวชเด็กฯแปลผลข้อมูลพัฒนาการเด็กจากครูและผู้ปกครองที่ส่งเข้ามาในระบบออนไลน์และนัดหมายกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครู ผู้ปกครองและเด็ก เพื่อซักประวัติ ทดสอบ การเขียน การอ่านคณิตศาสตร์ โดยวิดีโอคอล5)พยาบาลจิตเวชเด็กฯให้คำปรึกษาและตรวจคัดกรองในระบบออนไลน์ (วิดีโอคอล)กับผู้ปกครองและเด็กซักประวัติและนัดหมายพบแพทย์ที่โรงพยาบาล6)เด็กและผู้ปกครองพบแพทย์ที่โรงพยาบาลได้รับการวินิจฉัย7)รับการรักษาและได้รับคำแนะนำการใช้ยาจากเภสัชกรและ8)พยาบาลจิตเวชประสานข้อมูลผลการวินิจฉัยและแนวทางการดูแลเด็กแก่ครูที่โรงเรียน พยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและผู้ปกครองเด็ก ผลการประเมินการใช้รูปแบบพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสมาธิสั้นร้อยละ32.59มีความเสี่ยงสมาธิสั้นจาก SNAP-IV ร้อยละ 81.82 และอัตราการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น ร้อยละ 11.11เพิ่มการเข้าถึงบริการของเด็กโรคสมาธิสั้นในพื้นที่บริการได้ร้อยละ 47.16 ผู้ใช้บริการและเครือข่ายมีความพึงพอใจในระบบทางไกลในระดับพึงพอใจมาก ดังนั้นระบบบริการทางไกลในการคัดกรองโรคสมาธิสั้น สามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการโรคสมาธิสั้นในเด็กและลดการสัมผัสความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 ได้ตามวัตถุประสงค์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน,โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ,พรทิพย์ วชิรดิลก,พัชรินทร์ อรุณเรือง,ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล. (2556).
ความชุกโรคสมาธิสั้นในประเทศไทย. Journal of Mental Health of Thailand.
นันทิยา จีระทรัพย์.(2562,ธันวาคม) .การตรวจวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น โรคร่วม และการรักษา. การประชุมเชิงปฏิบัติการ
ฟื้นฟูความรู้การดูแลผู้ป่วยสมาธิสั้นสำหรับบุคลากรสาธารณสุข ในเขตสุขภาพที่ 10 วันที่ 19 ธันวาคม 2562
โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์.
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาลัยเชียงใหม่. (ม.ป.ป.)The Diagnostic and Statistical Manual of
Mental Disorders, Fifth Edition (DSM-5). https://w1.med. cmu. ac.th/psychiatry/ education/
learning/dsm-5/
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย,สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2553) แนวทางเวชปฏิบัติการดูแล
รักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit). https:// drive. google.com/file/d/107LJMitp7DCPX5vtcs
TaHjZhGVZ6Fwj6/view
วิชิต อู่อ้น, รัฐวัชร์ พัฒนจิระรุจน์. (2557). บล็อกทฤษฎีระบบ (Systems Theory). http://poundtv5.blogspot.
com/2014/10/system-theory.html
ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) (2564). สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease
(COVID-19) วันที่ 15 ตุลาคม 2564.https://media.thaigov. go.th/uploads/public img/source
/151064.pdf
สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือการบริการตรวจรักษาจิตเวชทาง
ไกล (Telepsychiatry) ผู้ป่วยนอกสำหรับหน่วยงานสุขภาพจิต.กรมสุขภาพจิต
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน).(ม.ป.ป.) เครื่องมือพัฒนาคุณภาพ 3P,3CPDSA,QA
สรัญญา วรรณชัยกุล. (2565). บทบาทของพยาบาลจิตเวชในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งเสริมสุขภาพจิตและ
ป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Guilherme Polanczyk M.D.,Mauricio Silvade Lima M.D.,Ph.D.Bernardo Lessa Horta M.D.,Ph.D,
Joseph Biederman M.D.Luis Augusto Rohde M.D.,Ph.D. (2007). The Worldwide Prevalence of
ADHD:A systematic Review and metaregression Analysis. The AMERICAN JOURNAL OF
PSYCHIATRY.
Kathleen Myers MD.MPH.MS,Ann Vander Stoep.PhD,Chuan Zhou PhD,Carolyn A.McCarty
PhD,Wayne Katon MD. (2015). Effectiveness of a Telehealth Servive Delivery Model for
Treating Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder:A Community-Based Randomized Controlled
Trial. Journal of the American Academy of Child & Adolescent Psychiatry.
Murat Pakyurek M.D.Julie,Schweitzer Ph.D,Peter Yellowlees M.B.B.S.M.D. (2013). Telepsychiatry and
ADHD. The ADHD Report. https://guilfordjournals.com/doi/pdf/10.1521/adhd.2013.21.1.1.
Nelson E.L., Duncan A.B., Peacock G. & Bui T. (2012). Telemedicine and adherence to national
guidelines for ADHD evaluation: A case study. American Psychological associstion.
doi.org/10.1037/a0026824.
Yuet Juhn Tse,Carolyn A.Mccarty,Ann Vander Stoep,and Kathleen M.Myers. (2014). Teletherapy
Delivery of Caregiver Behavior Training for Children with Attention-Deficit Hyperactivity
Disorder. Telemedicine and e-Health. doi.10.1089/tmj.2014.0132