การบริหารจัดการอัตรากำลังบุคลากรและการเพิ่มศักยภาพบุคลากร เพื่อรับมือภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 โรงพยาบาลไพรบึง จังหวัดศรีะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ บทบาทหน้าที่ และการบริหารจัดการอัตรากำลังบุคลากร และการเพิ่มศักยภาพบุคลากร ในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรค ช่วงเกิดการแพร่ระบาด และช่วงหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงพยาบาลไพรบึง เป็นการศึกษาย้อนหลัง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่าง 10 คน ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนมิถุนายน 2566 ผ่านกระบวนการถอดบทเรียนการดำเนินงานโรคโควิด-19 ใช้กระบวนการศึกษาและพัฒนาโดยประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่ง และจากเอกสารการถอดบทเรียน เอกสารรายงานการประชุม แบบนิเทศติดตามการปฏิบัติงาน และแบประเมินความ พึงพอใจของบุคลากร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตามขั้นตอนการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า ในช่วงก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 โรงพยาบาลไพรบึงมีการบริหารจัดการอัตรากำลังบุคลากรตามกรอบโครงสร้างโรงพยาบาลชุมชน ของกระทรวงสาธารณสุข อัตรากำลังบุคลากรมีความเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน งานป้องกันควบคุมโรคติดต่ออยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม ในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีการบริหารจัดการอัตรากำลังบุคลากรในการรับมือภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยการเกลี่ยอัตรากำลังบุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น จากงานกายภาพบำบัด งานทันตกรรม งานแพทย์แผนไทย กลุ่มงานเภสัชกรรม กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม กลุ่มงานบริหารทั่วไป เพื่อให้บริการที่จุดตรวจคัดกรองด่านหน้า จุดตรวจโรค Fever and ARI Clinic และจุดรักษาพยาบาลใน Cohort ward และขอรับการสนับสนุนบุคลากรจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอไพรบึง ให้มาช่วยปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนาม 2 แห่ง มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามระบบบัญชาการเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขสำหรับโรคและภัยสุขภาพและศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (EOC) อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรได้ใช้กระบวนการอบรมให้ความรู้ การฝึกปฏิบัติงาน การศึกษาดูงาน และการติดตามนิเทศงาน ผลการประเมินบุคลากรมีความรู้ มีทักษะในการปฏิบัติงานและมีความพึงพอใจในรูปแบบการบริหารจัดการอัตรากำลังบุคลากร การจัดอัตรากำลังบุคลากรช่วงหลังการระบาดของโรคโควิด-19 เป็นการจัดอัตรากำลังตามโครงสร้างเดิม แต่มีนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในหน่วยงานคือ วิถีชีวิตใหม่ของบุคลากร (New normal) มีการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และมีความตระหนักในการเฝ้าระวังการติดเชื้อมากยิ่งขึ้น มีการบริหารความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564) โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) สถานการณ์ในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.
กระทรวงสาธารณสุข. (2563) แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด19. ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ file/g other/g other02.pdf.
พงศธร พิทักษ์กำพล. (2540) การบริหารงานบุคคลและการพัฒนาบุคลากรและเทคนิคการบริหารบุคคล. เอกสารการสอนภาควิชาการบริหารการศึกษา : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงราย.
ไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2547) กลยุทธ์การจัดการและการปรับตัวขององค์การในสภาวะวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินกรมควบคุมโรค. (2563) รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situationno179-300663.pdf.
Herbane. B. (2010) Small business research- time for a crisis-based view. International Small Business Journal, 28(1). 43-64, 2010.
Petre. J.Eng. (2020) Novel Coronavirus (COVID-19). World Health Organization. World Health Organization & International Council of Nurse. (2009). ICN framework of disaster nursing competencies. Geneva: Western pacific region.