การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

รังสรรค์ ศรีคราม
สุคนธ์ทิพย์ บัวแดง, ปร.ด.

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการในช่วงเดือนมิถุนายน  - กันยายน 2566 ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้ร่วมพัฒนารูปแบบได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการป้องกันและควบคุมการเกิดอุบัติเหตุทางถนน อำเภอ กันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 110 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมินรูปแบบได้แก่ ประชาชนในเขตตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์  จำนวน 90 คน ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และสะท้อนผลการปฏิบัติ จำนวน 2 วงรอบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบอุปนัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ     ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าเฉลี่ย ค่าสถิติ pair t-test


     ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ คือ UN3CRA Model ประกอบด้วย     1) Unity district Health Team: มีกลไกคณะกรรมการระดับอำเภอที่มีความเข้มแข็ง เชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อกับ      ทุกหน่วยงานในระดับอำเภอ 2) Network:การสร้างความร่วมมือของภาคีหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชน    ในระดับพื้นที่ 3) Communication:การสื่อสารที่ชัดเจน มีชุดข้อมูลที่ประชาชนเข้าถึงได้ ถูกต้องทันต่อสถานการณ์      4) Community Participation: ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาข้อมูล นำข้อมูลมาวิเคราะห์ การวางแผน    การดำเนินงานและการประเมินผล 5)Customer Focus:การกำหนดกิจกรรมที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ส่งผลให้ขนาดของปัญหาลดลง 6) Resource Sharing and Human Development : การแบ่งปันทรัพยากร ทั้ง คน เงิน วัสดุ และพัฒนาคนในองค์กรให้มีสมรรถนะในการแก้ไขปัญหาด้านอุบัติเหตุการจราจรที่มีประสิทธิภาพ 7) Appreciation : การชื่นชมคนในองค์กรเมื่อปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไข    สร้างคุณค่าคนจากการปฏิบัติงานและเสริมสร้างแรงจูงใจอย่างสม่ำเสมอในการประชุมทุกเดือน เปิดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์คนเก่ง คนดีและคนมีจิตอาสาร่วมพัฒนางาน ผลการประเมินรูปแบบพบว่าคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้       การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ แรงสนับสนุนทางสังคมต่อการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนและการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในการดำเนินการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและคะแนนด้านพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหลังการทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้ในการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุในกลุ่มประชาชนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค..สถานการณ์การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย.สืบค้น ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2566. https://dip.ddc.moph.go.th/new/.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงาธารณสุข.(2564).รายงานประจำปี 2564 กองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2566). การบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน(RTI) (Road Traffic Injury (RTI).กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. https://ddc.moph.go.th/disease_ detail.php?d=73.

ฉลองชัย สิทธิวัง, Chalongchai Sitthiwang, นิยม สุนทร, Niyom Sunthorn, กรภัทร ขันไชย, Khooraphat Kanchai, ชาญชัย มหาวัน, Chanchai Mahawan, นิคม อุทุมพร, Nikom Utoomporn, เกษร ไชยวุฒิ, Kesorn Chaivud, กันจน เตชนันท์ and Kanchon Techanan.(2564).การพัฒนาความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ขับเคลื่อนการ มีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย 6 อำเภอนำร่อง จังหวัดน่าน. http://hdl.handle.net/11228/5397.

ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์.(2558).การนำเสนอผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บทางถนน ระดับอำเภอและท้องถิ่น.สำนัก

ควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ปี 2558.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันทรารมย์.(2565). รายงานการเกิดอุบัติเหตุปีงบประมาณ 2566. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันทรารมย์. สืบค้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566; https://ssokanthararom.com/index.php/component/users/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ,รายงานการเกิดอุบัติเหตุในสถานการณ์ช่วงสงกรานต์ ปีงบประมาณ 2566.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. สืบค้นในวันที่ 20 เมษายน 2566; http://www.ssko.moph.go.th/ kpi.php

ศูนย์ข้อมูลกลางด้านการบาดเจ็บกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2565).สถิติอุบัติเหตุทางถนน.สืบค้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566; https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=37380&deptcode=.

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ(ThaiRISC).(2566) รายงานแสดงสถิติการเกิดอุบัติเหตุแยกตามขนาดเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์..สืบค้น ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2566; https://app.powerbi.com/ view?r=eyJrIjoiY2RhNjgxNTQtZWQzZS00Mj ExLWFiNjUtNjMzZTJlNGUzMGE1Iiwid1iOTVhLTgzMWQ0ZTQ5MmE5NyIsImMiOjEwfQ%3D%3D.

ศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย การบูรณาการข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน 3 ฐาน. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 26 พ.ค.2566].เข้าถึงได้ จาก: http://rti.ddc.moph.go.th/RTD DI/Mo dules /Report/Report11.aspx10.

อรุณ จิรวฒั น์กุล.(2557).สถิติในงานวิจัยเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างให้เหมาะสม..บริษัทวิทยพัฒน์ กรุงเทพฯ.

อำนาจ ราชบัณฑิต (2565) รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่นปีที่ 29 ฉบับที่ 3 (2022): กันยายน – ธันวาคมหน้า98-110.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. Australia: Deakin University Press; 1988.6.

Streubert, H., & Carpenter, D.(1999). Qualitative Research in Nursing: Advancing the Humanistic Perspective (2nd ed.). Philadelphia, PA: Lippincott Williams.