การมีส่วนร่วมของผู้บริหารในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบาย เขตสุขภาพที่ 10

Main Article Content

ธนิกานต์ สังฆโสภณ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทบทวนและวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์ของเขตสุขภาพที่ 10 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมดำเนินงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์เขตสุขภาพที่ 10 และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของผู้บริหารในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เขตสุขภาพที่ 10 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบแผนยุทธศาสตร์และภาคีเครือข่าย ในพื้นที่จังหวัดเขตสุขภาพที่ 10 จำนวน 404 คน ดำเนินการศึกษาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วยการทบทวนและวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์   การสร้างแผนยุทธศาสตร์และการประเมินผลการมีส่วนร่วม ในระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565    รวม 12 เดือน  รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อม การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอย่างง่าย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


           ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นหญิง ร้อยละ 55.0 มีอายุระหว่าง 46 – 55 ปีมากสุด ร้อยละ 39.6 รองลงมา มีอายุ 56 ปีขึ้นไป ร้อยละ 25.7 เป็นกลุ่มเป้าหมายจากโรงพยาบาลชุมชน/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มากสุด ร้อยละ 36.1รองลงมา รองลงมาเป็นกลุ่มเป้าหมายจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ร้อยละ 32.9 กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงานในหน่วยงานของจังหวัดศรีสะเกษ มากสุด ร้อยละ 36.6 รองลงมาปฏิบัติงานในหน่วยงานของจังหวัดยโสธร ร้อยละ 22.3 การประเมินผลความเห็นด้านทัศนคติต่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ พบว่า เห็นด้วยในประเด็นพันธกิจมากสุด ร้อยละ 99.9 รองลงมาเป็นประเด็นเป้าประสงค์เท่ากันกับค่านิยมองค์กร ร้อยละ 99.0 การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ พบว่า ด้านการประเมินผล มีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.3 รองลงมาเป็นด้านการตัดสินใจ มีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.1 และด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3.8 อยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2560). แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2561 – 2580).กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2561. Economic Policy, 29(1), 173-186.

จตุรงค์ ปานใหม่. (2564). การพัฒนากระบวนการบริหารแผนยุทธศาสตรดานสุขภาพจังหวัด นครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, ปที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2564).

ฉวีวรรณ สัตยธรรมและคณะ. (2557). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต (ฉบับปรับปรุง) เล่มที่ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

ฌัชชภัทร พานิช และคณะ. (2559). ยุทธศาสตร์การจัดการระบบสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดน่าน. วารสารังงคมศาสตร์วิชาการ, ปีที่ 8 (2016): ฉบับพิเศษ ตุลาคม - ธันวาคม 2558.

ประชัย ศรีจามร. (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปลูกป่าภาครัฐ ตำบลป่าน้อยอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย, ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

ปราณี พระโรจน์. (2563). การพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์, 13(2 (พฤษภาคม- สิงหาคม 2563)), p186-195.

ปาริชาติ พุทไธสง. (2563). การประเมินผลแผนสุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาริชาการ คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2(2020): กรกฎาคม - ธันวาคม 2563.

ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล และคณะ. (2558). รายงานวิจัยติดตามประเมินผลนโยบายทีมหมอครอบครัว. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 1-7.

ภาวนา อำนวยตระกูล. (2566). ระดับการมีส่วนร่วมของผู้บริหารในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เขตสุขภาพที่ 12. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, ปีที่ 7 ฉบับที่ 13 (2023): ตุลาคม 2565 - มีนาคม 2566.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก, 6 เมษายน 2560.

วจินี จงจิตร. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้อํานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์สุขภาพเครือข่ายบริการสุขภาพอําเภอ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. 11(1), 45-64.

วัฒนา พัฒนพงศ์. (2547). การบริหารเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วีเอส.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ และ ศิริวรรณ ศิริบุญ. (2553). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2551). กลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มติชน.

สมพันธ์ เตชะอธิก และคณะ. (2548). อบต. ในอุดมคติ. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 –

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที่13 (2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี. (2558). การส่งเสริมการออกกำลังกายโดยการเดินวิ่งและใช้

จักรยานในชีวิตประจำวัน.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2551). การทบทวนข้อมูลเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การจัดบริการในหน่วยบริการ

ปฐมภูมิภายใต้โครงสร้างกระทรวงสาธารณสุข. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

สุภาพร พิศาลบุตร. (2545). การวิเคราะห์งาน การประเมินผลงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ศูนย์

หนังสือสถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์ และคณะ. (2555). กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพแบบมุ่ง

ผลลัพธ์: กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3794.

Edwards, F. E. (2001). Advanced Focus Group Research. Sage: United State of America.

Ghebreyesus, T. A. J. W. p. (2020). Addressing mental health needs: an integral part of COVID‐19 response. 19(2), 129.

Goodstein et al. (1993). Applied strategic planning: A comprehensive guide. New York:McGraw-Hill.

Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2564). ประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทย. https://www.hfocus.org/content/2021/10/23307#.

Ministry of Health. (2015). The Japan Vision: Health Care 3035. Japan 2035 -leading the

world through health. Tokyo: Ministry of Health, Labour and Welfare.

Tan X และคณะ. (2017). Healthy China 2030: a visionfor health care. Value Health Reg

Issues. https://www.ispor.org/docs/Default source/publications/newsletter/

commentary_health care_china_2030.pdf? sfvrsn=3b155d92_0.

World Health Organization. (2022). Institute of Health Metrics and Evaluation : Global

Health Data Exchange (GHDx). Retrieved 14 May 2022 from https://vizhub. healthdata.org/gbd-results/.

World Health Organization. (2022). Mental health. Retried from https://www.who.int/

health-topics/mental-health#tab=tab_1.

World Health Organization. (2022). Mental Health and COVID-19: Early evidence of

the pandemic’s impact. Geneva.