การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและสารเสพติดระยะกลาง(Intermediate care) โดยชุมชนมีส่วนร่วมอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2566

Main Article Content

ปรัชญานี คำเหลือ, พย.บ.
พงศนาถ หาญเจริญพิพัฒน์, พ.บ.

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและสารเสพติดระยะกลาง (Intermediate care) โดยชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2566  2) ประเมินผลการรักษาผู้ป่วยติดยาและสารเสพติดตามรูปแบบการรักษาแบบระยะกลาง (Intermediate care) ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการในเขตอำเภอศรีรัตนะ ระหว่างเดือน  สิงหาคม – พฤศจิกายน 2566  แบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาปัจจัยพื้นฐานและการสังเคราะห์รูปแบบฯ กลุ่มเป้าหมายคือ คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลศรีรัตนะ จำนวน  12   คน  คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) ศรีรัตนะ จำนวน 21 คน ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและยาเสพติดในโรงพยาบาลศรีรัตนะ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 15 คน รวม 48 คน การวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบฯ กลุ่มเป้าหมายคัดเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในตึกผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดโรงพยาบาลศรีรัตนะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ญาติ และผู้นำชุมชน จำนวน 152 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) ภาคีเครือข่าย ได้แก่ตัวแทนภาคีเครือข่ายจาก (1) คณะกรรมการ พชอ. (2) เครือข่ายผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น  2) กระบวนการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย (1) การมีส่วนร่วมของชุมชน (2) การมีส่วนร่วมของบุคลากร  และ 3) แนวทางและองค์ประกอบของการจัดตั้งหอผู้ป่วยฯ ประกอบด้วย (1) โครงสร้าง อาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (2) เครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ (3) บุคลากรและอัตรากำลัง (4) กระบวนการดูแลผู้ป่วย ด้านผลลัพธ์ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาฯ มีผู้เข้ารับการบำบัด 64 คน จำหน่ายกลับบ้าน 39 คน พบว่าเลิกได้ 37 คน คิดเป็นร้อยละ 94.87 กลับไปเสพซ้ำ 2 คน ร้อยละ 3.12

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข.(2566). บทบาทหน้าที่ของสํานักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

กระทรวงสาธารณสุข.สืบค้น 4 กันยายน 2566 จาก https://ncmc.moph.go.th/home/index.php/

index/site/1

กรมการแพทย์.“มินิธัญญารักษ์” ทางเลือกการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด.[อินเตอร์เน็ต]; [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2566].

เข้าถึงได้จาก https://www.gcc.go.th/?p=118803

ข้อสั่งการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนในการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กระทรวง สาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. [อินเตอร์เน็ต]; เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2566. เข้าถึงได้จาก http://www.chiangmaihealth.go.th/document/230226167741656245.pdf

คู่มือแนวทางการดำเนินงานด้านบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสุรา/ยา/สารเสพติด ที่มีอาการทางจิตและโรคร่วมทาง

จิตเวช กรมสุขภาพจิต.นนทบุรี : กองบริหาร ระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2564.

ชฎากาญจน์ ชาลีรัตน์, ยอดชาย สุวรรณวงษ์.(2565). การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาฟื้นฟูด้วยแนวคิดการเรียนรู้จาก

ประสบการณ์ และพลังภาคีเครือข่ายสำหรับผู้เสพยาเสพติดระบบสมัครใจในจังหวัดสระบุรี.วารสารสาธารณสุขและ

สุขภาพศึกษา.ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2565 หน้า 49-68.

ณฐพร ผลงาม.(2564). การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัด

ระยอง.วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม.ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2564 หน้า 49-71.

สำนักงาน ป.ป.ส. (2566) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด

(พ.ศ.2566–2570) สืบค้น 4 กันยายน 2566.จาก https://www.oncb.go.th/Home/PublishingImages/Pages/

ONCB_PLAN/Policyactionplan /นโยบายและแผนระดับชาติ%2066-70.pdf

สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). และกระทรวง สาธารณสุข. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557 : การสูญเสียปีสุขภาวะ. นนทบุรี : สถาบันงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, 2560

สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานยาเสพติด. พิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี. บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด; 2559

สำนักงาน ก.พ.ร.(2565). คู่มือในการประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (ฉบับปรับปรุง 2566)

สืบค้น 4 กันยายน 2566.จาก https://psdg.dmh.go.th/pmqa40/ files/คู่มือการประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐ%204.0.pdf

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5.นนทบุรี :

สถาบัน, 2564

สมชาติ โตรักษา.การประยุกต์หลักการบริหารเพื่อการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร:

ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.2560.

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.