รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสังคมของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อธิวัฒน์ วราพุฒ, ส.ม.

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพสังคม ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการมีทั้งหมด 41 คน ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จำนวน 21 คน คณะอนุกรรมการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพสังคม         จำนวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินผล จำนวน 200 คน การวิจัยใช้กระบวนการของ Kemmis และ Mctaggart (1968) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่      1) การวางแผนการปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ 2) การลงมือปฏิบัติการตามแผน ขั้นตอนที่ 3) การติดตามสังเกตการณ์ และขั้นตอนที่ 4) การสะท้อนผล  จำนวน 3 วงรอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังใช้สถิติ paired t-test ระหว่างเดือน กรกฎาคม 2565 ถึง พฤษภาคม 2566 ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพสังคมของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) คือ TAGSTEAM Model  คือ 1) Team District Health board : การแต่งตั้งทีมคณะอนุกรรมการระดับอำเภอและระดับตำบล 2) Aanalysis Data : การรวบรวมวิเคราะห์ขอมูลและคืนข้อมูลโดยใช้แนวทางเดียวกัน 3) Good vision: การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการดำเนินงาน 4) Strategy Planning : การวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมดำเนินการ  5) Tombon Budget support  : การจัด เดิน วิ่ง ปั่น ฮักแพง คนโนนคูณ ในแต่ละตำบล   6) Essential Care : การออกการดูแล เยี่ยมช่วยเหลือเสริมพลังกลุ่มเป้าหมาย 7) Appreciation Capacity building : การชื่นชมและให้คุณค่า พัฒนาบุคลากรและสร้างเครือข่ายทรัพยากร 8) Motivation lessons learning : การจัดเวทีสร้างแรงจูงใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน ผลลัพธ์จากหลังการพัฒนารูปแบบ พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง มีผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนน ของคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ   คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตโดยรวม ของผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ซึ่งรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพทางสังคมที่ดีขึ้นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติศักดิ์ วิจักษณกุลและ อารี บุตรสอน 2564 การสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนงานบริบาลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชน ตำบลโนนโหนน อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี.

ชไมพร แร่ทอง (2553) การประเมินผลโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 8 กองการแพทย์ เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

ณิสาชล นาคกุล (2561) การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี.

เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ (2555) กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลมาบแค อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม.

มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาและสำนักพัฒนายุทธศาสตร์ดีวิถีไทย. (2563). บทเรียน พชอ. การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.นนทบุรี.

ฤทัย วรรธนวินิจ. (2561). แนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบสุขภาพ โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับอำเภอ ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

วัฒนา นันทะเสน. (2558). การประเมินผลระบบสุขภาพอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(30), 105-113.

วัฒนา สว่างศรี. (2560). ถอดบทเรียนการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ศรีเรือน ดีพูน. (2562). ประสิทธิผลของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับอำเภอ ในพื้นที่นำร่องอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน ,7(2), 263-281.

ศิวภรณ์ เงินราง. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(2),108-116.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (30เป้าประสงค์ที่มีความสำคัญลำดับแรก) [อินเตอร์เนต]. เข้าถึงเมื่อ 6 มกราคม 2564 จาก http://sdgs.nesdb.go.th/goal

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). กรอบยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทย พ.ศ.2559-2563. กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. (2563). รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดปี 2563. ศรีสะเกษ.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2561). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่.ศ.2561[อินเตอร์เนต].เข้าถึงเมื่อ7มกราคม2564 จาก http://ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/ 2561/E/054/1.PDF