ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายสำเร็จ ในผู้ที่พยายามทำร้ายตนเอง ของจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ธนกร ชมาฤกษ์, พ.บ.

บทคัดย่อ

          การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ร้ายแรงทั่วโลก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยง      ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการฆ่าตัวตายของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายในจังหวัดศรีสะเกษ เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากการเฝ้าระวังโรคระดับชาติของจังหวัดศรีสะเกษ (รายงาน 506) ระหว่าง พ.ศ. 2565 ถึง พ.ศ. 2566 มีผู้  ฆ่าตัวตายสำเร็จ 100 ราย และฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ 282 ราย ใช้การทดสอบไคสแควร์ และการถดถอยโลจิสติกเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงในการพยายามฆ่าตัวตาย


           ผลการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง (62.3%) อายุน้อยกว่า 50 ปี (84.6%) และอายุเฉลี่ย 29.88 ปี สภานภาพโสด (62.6%) หรือหย่าร้าง (10.7%) และร้อยละ 33.2 เป็นโรคซึมเศร้า จำนวน 58 ราย ร้อยละ 15.2 มีโรคประจำตัว นอกจากนี้ยังมี 141 คน (36.9%) ที่มีประวัติพยายามฆ่าตัวตาย ผลวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ เพศชาย (Adj. OR =12.12, 95%CI 5.32-27.61, p<0.001) และอายุมากกว่า 50 ปี (Adj. OR =3.93, 95%CI 1.65-9.36, P=0.002) อื่นๆ ได้แก่ สัญญาณเบื้องต้นที่จะเกิดอันตรายต่อตนเอง (Adj. OR =3.31, 95%CI 162-6.76, p=0.001) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใช้ (Adj. OR =2.48, 95%CI 1.19-5.20), p=0.016) และปัญหาทางการเงิน (Adj. OR =4.85, 95%CI 1.90-12.41, p=0.001) สรุป ปัจจัยเสี่ยงของการพยายามฆ่าตัวตายในจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ อายุ เพศ สัญญาณเริ่มต้นที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเอง การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัญหาทางการเงิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธัญชนก บุญรัตน์(2559). พฤติกรรมการฆ่าตัวตายของ ผู้ป่วยที่มารักษาที่คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลหาดใหญ่. วารสารวิชาการแพทย์ เขต11 ;30(1):101-9. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/177583

จินตนา กมลพันธ์ และวันรวี พิมพ์รัตน์(2563). ปัจจัย ที่มีผลต่อการฆ่าตัวตายชองผู้ป่วยคลินิกให้คำปรึกษา กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ;35(2):481-90. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/247470

Chaniang, S., Klongdee, K., & Jompaeng, Y. (2022). Suicide prevention: A qualitative study with Thai secondary school students. Belitung Nurs J, 8(1), 60-66. https://doi.org/10.33546/bnj.1746.

Choi, S. B., Lee, W., Yoon, J. H., Won, J. U., & Kim, D. W. (2017). Risk factors of suicide attempt among people with suicidal ideation in South Korea: a cross-sectional study. BMC Public Health, 17(1), 579. https://bmcpublic

health.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12889-017-4491-5.

Hegerl, U. (2016). Prevention of suicidal behavior. Dialogues Clin Neurosci, 18(2), 183-190. https://doi.org/10.31887/DCNS.2016.18.2/uhegerl

Johnsson Fridell, E., Ojehagen, A., & Träskman-Bendz, L. (1996). A 5-year follow-up study of suicide attempts. Acta Psychiatr Scand, 93(3), 151-157. https://doi.org/10.1111/j.1600-0447.1996.tb10622.x

Probert-Lindström, S., Berge, J., Westrin, Å., Öjehagen, A., & Pavulans, K. S. (2020). Long-term risk factors for suicide in suicide attempters examined at a medical emergency in patient unit: results from a 32-year follow-up study. BMJ Open, 10(10), e038794. https://doi.org/10.1136/bmjopen-2020-038794