สถานการณ์และการวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรสิสที่โรงพยาบาลขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนตุลาคม 2566

Main Article Content

ชโยมนต์ ดอกพอง, พ.บ.
ปิยะดา สอนพูด, พย.บ.
เจนจิรา ดินฮูเซ็น, ว.ท.ม.
ศศิภา เตชะบูรณ์, ว.ท.ม.
ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์, พ.บ.

บทคัดย่อ

                โรคเลปโตสไปโรสิส หรือโรคฉี่หนู นับเป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคของสัตว์ที่สามารถติดต่อมาสู่คน พบอุบัติการณ์ของโรคมากในประเทศเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ประเทศไทยพบผู้ป่วย         ทั่วทุกภาคของประเทศแต่พบมากที่สุดในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัด   ที่มีอัตราเกิดโรคที่สูงกว่าระดับประเทศ การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ข้อมูลเชิงระบาดวิทยา           ของโรคเลปโตสไปโรสิสผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลขุขันธ์ และเพื่อตรวจยืนยันวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรสิสผู้ป่วยที่มานอนรักษาในโรงพยาบาลขุขันธ์ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2562 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2566 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย      แบบบันทึกข้อมูลและข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ ทดสอบผลยืนยันด้วยวิธี real time PCR และวิธี Microscopic Agglutination Test(MAT) วิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U test ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และ compare mean t-test


                 ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์และการวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรสิสที่โรงพยาบาลขุขันธ์ มีจำนวนผู้ป่วย    ที่สงสัยโรคเลปโตสไปโรสิส 98 ราย ทำการตรวจยืนยันการตรวจวินิจฉัยสารพันธุกรรมของโรคเลปโตสไปโรสิสด้วยวิธี Real-time PCR และการเพาะเชื้อทั้งในเลือดและปัสสาวะ พบว่า ไม่ติดเชื้อเลปโตสไปโรสิส 47 ราย ร้อยละ 47.96     ซึ่งส่วนใหญ่ติดเชื้อเลปโตสไปโรสิส 51 ราย ร้อยละ 52.04 ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการรุนแรง 31 ราย ร้อยละ 60.78       มีอาการไม่รุนแรง 20 ราย ร้อยละ 39.22 โดยผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงเสียชีวิต 2 ราย เป็นเพศชาย อายุ 66 และ 68 ปี  มี SOFA Score มากกว่า 2 ที่ประเมินการทำงานของระบบเลือด การทำงานของไตและการทำงานของตับ ซึ่งตรวจพบเชื้อทั้งในเลือดและปัสสาวะ 1 ราย ร้อยละ 50.00 และพบเชื้อเฉพาะในเลือด 1 ราย ร้อยละ 50.00


            สรุปผลการศึกษา พบผู้ป่วยเป็นโรคเลปโตสไปโรสิสมากกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งจากผลการตรวจวินิจฉัยโรคเลปโต สไปโรสิสที่รวดเร็วและแม่นยำนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อเป็นแนวทางในการรักษาผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิส          ได้ทันท่วงที

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. Retrieved from https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=16.

กัลยา วชิรพันธุ์สกุล, น. โ. (1998). การสำรวจพฤติกรรมการป้องกันโรคแลปโตสไปโรซิสของประชาชน อำเภอหนองบุนนาก จังหวัดนครราชสีมา. กลุ่มงานพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข.

Cagliero, J., Villanueva, S., & Matsui, M. (2018). Leptospirosis Pathophysiology: Into the Storm of Cytokines. Front Cell Infect Microbiol, 8, 204. doi:10.3389/fcimb.2018.00204

Daher, E. F., Abreu, K. L. S., & Junior, G. B. d. S. J. J. B. D. N. (2010). Leptospirosis-associated acute kidney injury. 32, 408-415.

Department of Disease Control, M. o. P. H., Thailand. (2017). Thailand National Disease Surveilance (Report 506).

Jones, A. E., Trzeciak, S., & Kline, J. A. (2009). The Sequential Organ Failure Assessment score for predicting outcome in patients with severe sepsis and evidence of hypoperfusion at the time of emergency department presentation. Crit Care Med, 37(5), 1649-1654. doi:10.1097/CCM.0b013e31819def97.

Smith, S., Kennedy, B. J., Dermedgoglou, A., Poulgrain, S. S., Paavola, M. P., Minto, T. L., . . . Hanson, J. (2019). A simple score to predict severe leptospirosis. PLoS Negl Trop Dis, 13(2), e0007205. doi:10.1371/journal.pntd.0007205.

Tansila, N. (2023). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซิส ของประชาชนตำบลหนองฮาง อำเอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ, 2(1), 1-12.

Vieira, M. L., & Nascimento, A. (2020). Virulent Leptospira interrogans Induce Cytotoxic Effects in Human Platelets in vitro Through Direct Interactions. Front Microbiol, 11, 572972. doi:10.3389/fmicb.2020.572972.