ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ของประชาชนในเขตตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

เสถียร โนนน้อย, ส.บ.

บทคัดย่อ

 


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ของประชาชน ในเขตตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของกองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข พัฒนา 4 ทักษะสำคัญ ได้แก่ 1) ทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ 2) ทักษะการเข้าใจข้อมูลสุขภาพ 3) ทักษะการประเมินข้อมูลและบริการด้านสุขภาพ 4) ทักษะการประยุกต์ใช้ข้อมูลและบริการสุขภาพ ใช้เวลาทั้งสิ้น 3 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและสถิติ t-test


            ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส เพิ่มขึ้น และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P-value <0.001) และหลังจากการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม 3อ 2ส มากกว่ากลุ่มควบคุม และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.001)  จึงสรุปได้ว่า สามารถนำโปรแกรมนี้ไปพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพให้กับประชาชนในชุมชน โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในการป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (14 มิถุนายน 2565). อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). เข้าถึงได้จาก สำนักสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ: https://prgroup. hss.moph.go.th/article/1000-%E0%B 8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%.

กองโรคไม่ติดต่อ. (18 มกราคม 2565). จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (NCD) ปี 2559 - 2563. เข้าถึงได้จาก กองโรคไม่ติดต่อ: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14220&tid =32&gid=1-020.

กองโรคไม่ติดต่อ. (2566). รายงานประจำปี 2565 กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/2016/ media-detail.php?id=14502&tid=30&tid= &gid=1-015-005.

กลุ่มวิชาการและพัฒนาคุณภาพงานสุขศึกษา. (22 พฤษภาคม 2563). รวมเทคนิคการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับกลุ่มวัยทำงาน. เข้าถึงได้จาก กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข: http://www.hed.go.th /linkHed/408.

กลุ่มวิชาการและพัฒนาคุณภาพงานสุขศึกษา. (29 ธันวาคม 2565). 4.คู่มือการดำเนินงานสุขศึกษาตำบลจัดการคุณภาพชีวิตและชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ. เข้าถึงได้จาก กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ: http://203.157.7.66 /linkHed/458.

ณัฐวุฒิ กกกระโทก และชลดา งอนสำโรง. (2566). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 9(1), 115-129.

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. (2564). คู่มือกระบวนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ. นนทบุรี: บริษัท อาร์ เอ็น พี พี วอเทอร์ จำกัด.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2564). โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี: บริษัท เอ ดรีม สตูดิโอ จำกัด.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2566). การสูญเสียปีสุขภาวะ รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2562. นนทบุรี: บริษัท แฮนดี เพรส จำกัด. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th /e-book/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E 0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0-disability-adjusted-life-yea/.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (18 กันยายน 2566). การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ. เข้าถึงได้จาก HDC: https://ssk.hdc.moph. go.th/hdc/main/index.php.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่องการสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพคนไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

อำนวย เนียมหมื่นไวย์. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนักจัดการสุขภาพชุมชน อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา.

วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 4(2), 78-92.

เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว, และวัชรีวงค์ หวังมั่น. (2563). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(3), 421-429.

Nutbeam D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

World Health Organization. (16 September 2022). Noncomunicable disease. Retived from; World Health Organization: https://www.who.int/ news-room/fact-.