การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยก่อนถอดท่อเครื่องช่วยหายใจโดยใช้โปรแกรมสมาธิบำบัด และดนตรีบำบัดในผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจยากเพื่อป้องกันการติดเชื้อในปอดจากการใส่เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน

Main Article Content

ชนากานต์ พรมมาสุข, พย.บ.

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้เป็นการจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยก่อนถอดท่อเครื่องช่วยหายใจโดยใช้โปรแกรมสมาธิบำบัดและดนตรีบำบัดในผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจยากเพื่อป้องกันการติดเชื้อในปอดจากการใส่เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน การศึกษาเป็นแบบ 1 กลุ่มวัดซ้ำ ( Repeated measures : One group ) คือ กลุ่มทดลองจะทำการวัด 3 ระยะ คือ ก่อนการทดลอง ระยะทดลอง และระยะติดตามผล และเก็บข้อมูลเพื่อวัดระดับความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลกันทรลักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนัก ICU โรงพยาบาลกันทรลักษ์ อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป รู้ตัวรู้เรื่องดี สามารถตอบคำถามและฝึกหายใจได้ โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 56 คน แต่มีผู้เข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย มี 3 ส่วน ได้แก่ โปรแกรมสมาธิบำบัดและดนตรีบำบัด แบบประเมินภาวะวิตกกังวลแผลและแบบประเมินความวิตกกังวลขณะใส่เครื่องช่วยหายใจ และ แบบสังเกตพฤติกรรมการผ่อนคลายของผู้ป่วยเป็นแบบประเมินการผ่อนคลายที่เกิดขึ้นหลังการใช้โปรแกรมดนตรีบำบัดและสมาธิบำบัด โดยผู้วิจัยได้จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยโดยใช้คำถามและตอบใช่/ไม่ใช่ ซึ่งเป็นแบบประเมินที่ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แบบสังเกตของ Madsen & Madsen (1981) มาประยุกต์ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการผ่อนคลายของผู้ป่วยโดยใช้ประเมินการผ่อนคลายที่เกิดขึ้นภายหลังการใช้เทคนิคการผ่อนคลายโดยการใช้โปรแกรมดนตรีบำบัดและสมาธิบำบัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถามผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจที่มีระดับความรู้สึกตัวดี ถามตอบเข้าใจ ระหว่างวันที่ เดือน 1 กันยายน 2566 – 30 พฤศจิกายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ การทดสอบความแปรปรวนของความวิตกกังวล ได้แก่  Repeated measures Analysis of Variance


          ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมสมาธิบำบัดมีค่าคะแนนเฉลี่ยภาวะความวิตกกังวลในระยะหลังทดลองต่ำกว่าระยะก่อนทดลอง ส่วนค่าคะแนนเฉลี่ยภาวะความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่เข้าร่วมโปรแกรมกับระยะก่อนทดลองและหลังทดลองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


          ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจได้และสามารถนำไปพัฒนางานต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประชุมพรกวีกรณ์, ภูเบศร์ แสงสว่าง, เนาวรัตน์ ค้าข้าวและ เพชรสุดา ครองยุติ. (2559). รูปแบบการใช้

สมาธิบําบัด SKT โดยครูก เพื่อควบคุมความดันโลหิตในชุมชนจังหวัด ยโสธร. วารสารสมาคมเวช

ศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย,6(3) ,231–239.

ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ, สมจิตร์ หร่องบุตรศรี, และ ผ่องพรรณ กฤษณะประกรกิจ. (2552). สมาธิบําบัด

ทางจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนพร กมลแสน, สุริยะ จงแพ, สุณี ฉิมพิบูลย์, มุนา วงศาโรจน์, พัชรี รัตนาพรพิทักษ์, ศิริเพ็ญ แก้วประดิษฐ์,

และนภสร แก้วนิลกุล. (2551). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตและการให้คําปรึกษาโดย

การใช้พุทธธรรมในผู้ป่วยที่มีอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มารับบริการโรงพยาบาลห้วยผึ้ง

จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข

อรสา พันธ์ภักดี การพยาบาลผู้ป่วยภาวการณ์หายใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลัน ในสมจิตรหนุเจริญกุล.

(บรรณาธิการ),การพยาบาลอายุรกรรมศาสตร์ เล่ม 2 ครั้งที่ 13 กรุงเทพมหานคร ,มิตรเจริญการพิมพ์ ;

สุพัตรา อยู่สุข. ระดับความทุกข์ทรมานและปัจจัยที่ทำให้เกิดความทุกทรมานในผู้ป่วยระหว่างการใช้

เครื่องช่วยหายใจ 2552

บังอร เครียดชัยภูมิ. (2533). ผลของดนตรีต่อระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยขณะได้รับการผ่าตัด

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหิดล.

Cohen, L. H. (1998). Quantitative assessment of thriving. Journal of Social Issues, 54(2),

-335.

Dodd, M., Janson, S., Facione, N., Faucett, J., Froelicher, E., Humphrey, J., Lee, K., Miaskowski, C., Puntillo, K., Rankin, S., & Taylor, D. (2001). Advancing the science of symptom management. Journal of Advance Nursing, 33, 668-676.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2554).หลักและแนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

เอื้อใจ แจ่มศักดิ์. (2555). ผลของการใช้แนวปฏิบัติต่อ อัตราการเกิปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วย

หายใจวิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาล

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ประณีต ส่งวัฒนา และอุทัยวรรณ พุทธรัตน์ ผลของดนตรีไทยประยุกต์เพื่อบำบัดความปวดและความ

วิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด.วารสารสภาการพยาบาล.2550