ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

สุนทร หาญศึก, ส.ม.

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและวิเคราะห์ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี   ขึ้นไป ที่มีชื่อในทะเบียนราษฎร์และอาศัยอยู่ในเขตตำบลรุงตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 324 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple liner regression)


            ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุตำบลรุงมีคุณภาพชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 78.7 รองลงมาอยู่ในระดับดี ร้อยละ 14.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อาชีพ ความพอเพียงของรายได้ โรคประจำตัว การรับรู้สภาวะสุขภาพ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคมและการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุในชุมชน ส่วนปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากที่สุด คือ การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สภาวะสุขภาพ ความพอเพียงของรายได้และความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง โดยสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ได้   ร้อยละ 43.3 ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้วางแผนในการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทุนดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (LTC) ตำบลรุง.(2566). สรุปรายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2565. ศรีสะเกษ.

จิราพร ทองดี และคณะ. (2555). ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี, 22(3):88-99.

ณัฎฐกันย์ อ๋องเอื้อ. (2564). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563.กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์คอร์เปอร์เรชั่นส์ จำกัด มหาชน.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดนเอาว์. (2566). โปรแกรมระบบงานสถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS). ศรีสะเกษ.

วาสนา หลวงพิทักษ์ และคณะ. (2562). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(38):67-81.

วุฒิฌาณ ห้วยทรายและศรายุทธ ชูสุทน. (2566). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(1):63-72.

สำนักงานสถิติจังหวัดศรีสะเกษ. (2561). จำนวนประชากรสูงอายุจังหวัดศรีสะเกษ. สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2566. จาก : https://twitter.com/sisaket_nso;2561.

สุนิสา วิลาศรี และคณะ. (2563). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบบริการระยะยาวกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(2):164-176.

อารดา ธีระเกียรติกำจร. (2554). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุไรวรรณ ทัศนีย์สุวรรณ. (2564). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1):293-311.

Kelley K, Maxwell SE. (2003). Sample size for multiple regression: obtaining regression coefficients that are accurate, not simply significant. Psychol. Methods, 8(3): 305–21.

United Nations. (2022). World population prospects 2022. Retrieved 4 November 2023, from : http://www.population.un.org/wpp/

WHO. (2018). Quality of life. 4 November 2023, from http://www.who.int/healthinfo/survey/whoqol-qualityoflife/en/.