ผลของโปรแกรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล(Care giver)ผู้สูงอายุ ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมผลของโปรแกรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล(Care giver)ผู้สูงอายุ ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มทดลอง 50 คน และกลุ่มตัวอย่าง ผู้ดูแล (Care giver) ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้โปรแกรมดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทไทย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล(Care giver) โปรแกรมประกอบไปด้วยการจัดอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ การบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า 7 ท่า ออกกำลังกายด้วยยางยืด 5 ท่า สัปดาห์ละ 3 วัน และ การแช่เท้าด้วยสมุนไพร สัปดาห์ละ 3 วัน จำนวน 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบใช้ t-test
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถ ในการดำเนินชีวิต และเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P-value <0.001) และหลังจากการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนระดับความพึงพอใจระดับมาก และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.001) สำหรับผู้ดูแล(Care giver)ผู้สูงอายุ หลังเข้าร่วมกิจกรรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยมีระดับการส่วนร่วมระดับมาก และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.001) จึงสรุปได้ว่า สามารถนำโปรแกรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล(Care giver)ผู้สูงอายุ โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดภาวะถดถอย ลดภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุในชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ( 2550). รายงานสถานการณ์การแพทย์แผนไทย การแพทย์
พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกประจำปี พ.ศ. 2548-2550. นทบุรี.
กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (2555). คู่มือการดูแลผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป
พิมพ์ที่สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก (2566). คู่มือดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก “สู่มือ 3 หมอ”ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริลักษณ์ 2505, ปีที่พิมพ์ 2566.
จารุวรรณ พันธ์ประทุม (2566). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุต่อความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1(2-11)
ถิรวัฒน์ ลาประวัติ และสมัย ลาประวัติ (2567). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองหัวช้าง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพ
ศรีสะเกษ, ปี 3, ฉบับที่ 1, มีนาคม 2024, น. p. 156-170.
รศรินทร์ เกรย์และคณะ (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ:มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ (New Concept
of Older Persons:The Psycho-socail and Health Perspective).สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
มหาวิทยาลัยมหิดล:นครปฐม.
สิทธิศักดิ์ กองมา(2566). ผลของการฟื้นฟูสภาพโดยการแพทย์แผนไทย ต่อคุณภาพชีวิต และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการสาธารณสุขจังหวัดตาก, 3(1)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566—2570).ราชกิจจานุเบกษา.
เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว, และวัชรีวงค์ หวังมั่น (2563). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(3), 421-429.
World Health Organization (WHO). (2002). Active aging, a policy framework. A contribution of the World Health Organization to the second United Nation world assembly on aging. Madrid, Spain.
World Health Organization (WHO). (2009). Global age-friendly cities: A guide. France.