รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

บุหลัน สุขเกษม
มลฤทัย ทองพิละ
ศริยา ศิริปรุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีขั้นตอนการวิจัยคือ 1)ศึกษาบริบทและสภาพปัญหาของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2) ระยะพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง3)การประเมินระสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น  โดยใช้การจัดการคุณภาพ 4ขั้นตอน คือ การวางแผน การนำแผนไปปฏิบัติ การประมวลผลข้อมูล และการสะท้อนผล (PAOR) จำนวน 3วงรอบ ผ่านกระบวนการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบคือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 38 คนและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น จำนวน 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึก สังเกต และการสัมภาษณ์เชิงลึก ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึง เดือนมิถุนายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ คือ PKESCV MODEL ซึ่งประกอบด้วย          1) P: Policy คือ นโยบายสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ด้านการดูแลรักษา ส่งเสริมสวัสดิการ และความมั่นคงปลอดภัย 2) K: Knowledge and Skill คือความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 3) E: Empowerment การเสริมสร้างพลัง 4) S: Social support คือสิ่งสนับสนุนทางสังคม 5) C: collaboration คือการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็ง ซึ่งความร่วมมือและเข้มแข็งจะนำไปสู่ความต่อเนื่องและยั่งยืนและ 6) V: Value คือการให้คุณค่าต่อผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบพบว่าคะแนนด้านความรู้ ทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ การได้รับสิ่งสนับสนุนทางสังคม ระดับการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุฯของภาคีเครือข่าย ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และคะแนน ADL ของผู้สูงอายุฯ สูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้นรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุพึ่งพิงที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการจัดบริการผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สาชล นาคกุล. (2561). ศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี

ทิพยรัตน์ กันทะ. (2564). ศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน

วรางคณา ศรีภูวงษ์,ชาญยุทธ ศรีภูวงษ์ และ สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์. (2563). ศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

มูลนิธิสถาบันการวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.(2558).สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บริษัทอัมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด.

สายใจ จารุจิตร, ราตรี อร่ามศิลป์ และวรรณศิริ ประจันโน.(2562).ศึกษาเรื่อง รูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงตามปัญหาและความต้องการของผู้ดูแล

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2561).รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.).(2557).คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ:สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.).

อนุชา ลาวงค์ และคณะ.(2564). ศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด