การพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพของเภสัชกร

Main Article Content

วรรณา เชื้อธรรมชาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพของเภสัชกร 2) ตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือประเมินสมรรถนะการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพของเภสัชกร 3) ประเมินสมรรถนะการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพของเภสัชกร การศึกษานี้เป็นการศึกษาในประชากร จึงไม่มีการสุ่มตัวอย่าง  โดยประชากร คือ เภสัชกรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ทั้งหมด 67 คน ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามให้เภสัชกรทางไปรษณีย์ และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดให้ส่งแบบสอบถามกลับ มีเภสัชกรไม่ส่งแบบสอบถามกลับ จำนวน 10 คน จึงตัดจำนวนกลุ่มตัวอย่างนี้ออก ตามเกณฑ์การคัดออกผู้เข้าร่วมการวิจัย (Exclusion criteria)  ดังนั้นจึงมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้จำนวน 57 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และใช้สถิติเชิงอนุมาน เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม หรือค่าที       (t-test)  ผลการวิจัย พบว่า 1) เครื่องมือประเมินสมรรถนะการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ ประกอบด้วย สมรรถนะ 4 ด้าน คือ ด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ประกอบด้วย คำถาม 12 ข้อ ด้านระบบการจัดการความเสี่ยง ระบาดวิทยาและความปลอดภัยด้านยา ประกอบด้วย คำถาม 25 ข้อ ด้านเภสัชสาธารณสุขเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย คำถาม 10 ข้อ และด้านนโยบายและการจัดการด้านยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และระบบบริการสุขภาพ ประกอบด้วย คำถาม 9 ข้อ 2) ประสิทธิภาพของเครื่องมือประเมินสมรรถนะ พบว่า ด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ในช่วง 0.6-1.0 และค่าความเชื่อมั่น 0.968 ด้านระบบการจัดการความเสี่ยง ระบาดวิทยาและความปลอดภัยด้านยา มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ในช่วง 0.6-1.0 ค่าความเชื่อมั่น 0.978 ด้านเภสัชสาธารณสุขเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค  มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ในช่วง 0.6-1.0  ค่าความเชื่อมั่น 0.976 และด้านนโยบายและการจัดการด้านยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ  และระบบบริการสุขภาพ  มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 1.0  ค่าความเชื่อมั่น 0.962  พบว่า ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) โดยรวมเท่ากับ  0.990 3) ผลการประเมินสมรรถนะการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพของเภสัชกร พบว่าค่าสมรรถนะเฉลี่ยของเภสัชกรอยู่ในระดับปานกลาง  ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคและไม่ได้ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค พบว่า เภสัชกรที่ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค มีค่าสมรรถนะเฉลี่ยแตกต่างจากเภสัชกรที่ไม่ได้ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยเภสัชกรที่ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค มีสมรรถนะในระดับที่สูงกว่าเภสัชกรที่ไม่ได้ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองแผนงานและวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานสรุปผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพตามแผนเก็บตัวอย่าง ปีงบประมาณ พ.ศ.2562.นนทบุรี: (ม.ป.พ.).

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสรุปผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพตามแผนเก็บตัวอย่าง ปีงบประมาณ พ.ศ.2563.นนทบุรี: (ม.ป.พ.).

กิตติ พิทักษ์นิตินันท์. (2556). บทบาทเภสัชกรต่อสังคมไทยในศตวรรษที่ 2. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.wongkarnpat.com/viewya.php?id=567

จารีศรี กุลศิริปัญโญ. (2558). การพัฒนาเกณฑ์ประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(2), 123-130.

ณรงฤทธิ์ กิตติกวิน. (2556). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินสมรรถนะของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ในประเทศไทยด้วยเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

มาฆมาส กาญจนากร. (2549). สมรรถนะที่จำเป็นและที่มีของเภสัชกรซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ในเขตภาคเหนือ(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2557). การวัดและประเมินสมรรถนะของบุคลากรวิชาชีพ. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2564, จาก http://lib.edu.chula.ac.th/FILEROOM/CU_FORMJOURNAL/DRAWER001/GENERAL/DATA0016/00016954.PDF

สภาเภสัชกรรม. (2558). ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 20/2558 เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ ปี 2558 (ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2558).

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2537). คู่มือการกำหนดความรู้ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะสำหรับตำแหน่ง (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: ประชุมการช่าง.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือสมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: ประชุมการช่าง.

เสรี ลาชโรจน์. (2537). หลักเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาในโรงเรียน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Barret, D, Heale, R. (2020). What are Delphi studies?. BMJ journals, 23(3), 68-69. Retrieved 9 May 2021, from https://ebn.bmj.com/content/23/3/68.

Theodore, J. G. (1994). The Delphi Method. Future Research Methodology. Retrieved 6 May 2021, from https://eumed-agpol.iamm.fr/private/priv_docum/wp5_files/5-delphi.pdf