ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนอำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ณัฐพงษ์ โพธิบุตร

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนในเขตอำเภอโนนคูณจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 167คน ใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ต่ำสุดค่าสูงสุด ค่ามัธยฐานและสถิติเชิงวิเคราะห์ (Inferential Statistics)วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยและระดับคะแนนภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนในเขตอำเภอโนนคูณจังหวัดศรีสะเกษ ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearsonวิเคราะห์สมการทำนายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองกลุ่ม โดยใช้การใช้สถิติถดถอยเชิงพหุ Multiple Linear regression) แบบStep wise


            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลาง ร้อยละ 25.1 มีภาวะซึมเศร้าในระดับรุนแรง ร้อยละ 43.7 มีความฉลาดทางสังคมภาพรวมในระดับปานกลาง มีความผูกพันในครอบครัวในระดับปานกลางและดี ร้อยละ 71.9 และ28.1มีความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อนในระดับปานกลางและดี ร้อยละ 55.1 และ 44.9           มีพฤติกรรมการติดเกม คลั่งไคล้ เริ่มมีปัญหาในการเล่นเกมร้อยละ 16.8 มีปัญหาในการเล่นเกมมากร้อยละ1.8           มีพฤติกรรมสนทนาออนไลน์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนในเขตอำเภอโนนคูณจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 5 ตัวแปร คือความฉลาดทางสังคม(r= -0.226 p-value <0.000) ความผูกพันในครอบครัว (r= -0.308,       p-value <0.000)  สัมพันธภาพกับเพื่อน(r= -0.330,p-value <0.000) สถานภาพบิดามารดาหย่าร้าง(r= -0.185,    p-value<0.017) และปัจจัยด้านการอยู่อาศัยอยู่กับบิดา(r=-0.157,p-value<0.043) ส่วนปัจจัยอื่นๆไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะระบุความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุพบว่าตัวแปรซึ่งเป็นปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนในเขตอำเภอโนนคูณจังหวัดศรีสะเกษได้แก่ ปัจจัยด้านสัมพันธภาพกับเพื่อน,ปัจจัยด้านการอยู่อาศัย ปัจจุบันอยู่กับมารดาและครอบครัวใหม่,ปัจจัยด้านความผูกพันในครอบครัว, ปัจจัยด้านสถานภาพสมรสบิดามารดาหย่าร้างและปัจจัยด้านการอยู่อาศัยอยู่กับบิดาตามลำพัง ตามลำดับโดยสามารถร่วมทำนายอธิบายความแปรปรวนของคะแนนของภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนในเขตอำเภอโนนคูณจังหวัด      ศรีสะเกษ ได้ร้อยละ 22.2 (Constant = 39.110,R2=0.222,SEest= 7.534, F= 9.178, p < 0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ดังนั้นการแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอโนนคุณ จังหวัดศรีสะเกษ ควรคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้และควรนำปัจจัยดังกล่าวมาออกแบบการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตอำเภอโนนคูณต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. ข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตคนไทยนนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565 .สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม

สืบค้นจาก https://checkin.dmh.go.th/dashboard/dash01.php.

ประภัสสร จันดี. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาส

ทางการศึกษา .วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช,

บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา

ฉันทนา แรงสิงห์.(2554).ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

จังหวัดเชียงราย.วารสารสภาการพยาบาล ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2554

ปวิมลวรรณ ปัญญาว่อง, รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยง

ฆ่าตัวตายในวัยรุ่นไทยการสำรวจโรงเรียนใน 13 เขตสุขภาพ [Prevalence of depression and suicidal

risks in Thai adolescents: a survey in schools from 13 Public Health Region]. วารสารสุขภาพจิต

แห่งประเทศไทย. 2563;28:136-149.

ศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวและภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น.

วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย,28(3):231-239

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.(2564).เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน กระทรวงสาธารณสุข

กรณีปกติ รอบที่ 2 ปี 2564. ศรีสะเกษ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.

อุษณี อินทสุวรรณ, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส, และชนัดดา แนบเกษร. (2562). ปัจจัยทํานายภาวะซึมเศร้าของ

นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารกรมการแพทย์, 44(4), 125-131.

อัญมณี มณีนิล.(2563).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลายจังหวัดจันทบุรี.วิทยานิพนธ์หลักสูตร

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัย

บูรพา.ธันวาคม 2563.

Beck, A. T., & Alford, B. A. (2009). Depression: Clinical, experimental, and theoretical

aspects (2nd ed.). Pennsylvania: University of Pennsylvania.

Best. J. W. and Kahn J.V. Research In Education. 7 th ed. Boston, M.A. : Allyn And Bacon. 1993.

Coker, T. R., Sareen, H. G., Chung, P. J., Kennedy, D. P., Weidmer, B. A., & Schuster, M. A. (2010).

Improving access to and utilization of adolescent preventive health care: The perspectives

of adolescents and parents. Journal Adolesc Health,47, 133-142.

Jacobs, R. H, Reinecke, M. A., Gollan, J. K., & Kane, P. (2008). Empirical evidence of cognitive

vulnerability fordepression among children and adolescents: A cognitive science and

developmental perspective. Clinical Psychology Review, 28, 759-782.

Little, R.J. A., & Rubin, D.B. (2002). Statistical analysis with missing data(5th ed.).New York: Wiley.

Lemeshow, S., Hosmer, D. W., Klar, J., Lwanga, S. K., & Organization, W. H. (1990). Adequacy of

sample size in health studies. Chichester: Wiley.

National Health and Medical Research Council [NHMRC]. (2011). Clinical practice guidelines:

Depression in adolescents and young adults. Melbourne: Beyond blue.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2017). Nursing research: Generating and assessing evidence for

nursing practice (10th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

The State of the World's Children,(2021). On My Mind: Promoting, protecting and caring for

children’s mental health from https://www.unicef.org/reports/state-worlds-children-2021

World Health Organization (WHO). Depression and other common mental disorders: global health

estimates [Internet]. Geneva: WHO; 2017 [cited 2018 Nov 16]. Available from:

http://apps.who.int/iris/bitstream/ handle/10665/254610/WHO-MSD-MER-2017.2-eng.pdf