ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อซ้ำโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษและประสิทธิผลของการใช้ E-Book ในการเพิ่มความรู้และทัศนคติในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ

Main Article Content

ศศิธร เจริญประเสริฐ
ณัฐพันธ์ จันสมุทร
พุทธิไกร ประมวล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development )โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อซ้ำโรคพยาธิใบไม้ตับ ของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษและประสิทธิผลของการใช้ E-Book ในการเพิ่มความรู้และทัศนคติในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือผู้ที่มีการตรวจหาโรคพยาธิใบไม้ตับ 2 ครั้งขึ้นไป  ในระหว่างปี 2560-2564 ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ  โดยเป็นผู้ติดเชื้อซ้ำ 2 ครั้งขึ้นไป จำนวน 127 คน  และกลุ่มควบคุมคือผู้ที่ตรวจซ้ำไม่พบพยาธิใบไม้ตับ  จำนวน 254 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  ส่วนการศึกษาประสิทธิผลของการใช้ E-Book ในการเพิ่มความรู้  ทัศนคติและพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ  ใช้กลุ่มตัวอย่างที่ติดเชื้อซ้ำ  จำนวน 38 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  ก่อนและหลังทดลอง  วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆด้วยสถิติ Simple logistic  regression และ Multivariable logistic  นำเสนอด้วยค่า Crude Odd  ratio (OR) และช่วงความเชื่อมั่น 95 % พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  เมื่อคำนึงถึงอิทธิพลของตัวแปรอื่น มี 2 ปัจจัย  คือ 1.รายได้เฉลี่ยครอบครัวต่อเดือน   ดยผู้ติดเชื้อซ้ำที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวน้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือน
 (ORA = 2.06 , 95 % CI = 1.12 -3.80  p-value = 0.0201) และ 2.การปฏิบัติต่อการป้องกันโรค โดยผู้ที่มีการป้องกันโรคระดับดี  จะมีการติดเชื้อซ้ำน้อยกว่า (ORA = 0.60 , 95 % CI = 0.36-0.98  p-value = 0.0418)  ส่วนประสิทธิผลของการใช้ E-Book ในการเพิ่มความรู้และทัศนคติในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ เปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ Paired T-test พบว่าหลังทดลองการใช้ E-Book กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value < 0.0001 , 95  % CI =2.70-4.20 ) มีทัศนคติต่อประโยชน์ในการป้องกันควบคุมโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value = 0.0001 , 95  % CI =1.03-2.81 ) จากผลการศึกษา  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรเร่งรัดให้ประชาชนมีการปฏิบัติตัวในการป้องกันควบคุมโรค  รวมทั้งใช้ E -Book เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน  เพื่อลดอัตราการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งท่อน้ำดีต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2561) แผนุยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559-2568. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดทิศทางและประเด็นการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี; 24-26 กรกฎาคม 2561; โรงแรมพลูแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด. ขอนแก่น. Cascap khon kean university.

สว่างใจ พึ่งพักตร์. (2553). โรคพยาธิใบไม้ตับ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พรีแมกกรุ๊ป จำกัด.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.(2559).ยุทธศาสตร์แห่งการกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: โครงการ Cascap มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559 [สืบค้นเมื่อ 10 มิ.ย. 2562]. แหล่งข้อมูล: https://cloud.cascap.in.th/.

ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์. (2559).ปรสิตวิทยาสำหรับการพยาบาลและสาธารณสุข. นครราชสีมา: สมบูรณ์การพิมพ์.

Sripa B., et al.(2011). Opisthorchiasis and Opisthorchis-associated cholangiocarcinoma in Thailand and Laos. ActaTropica 2011; 120: S158-68.

ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์.(2553). พยาธิใบไม้ตับในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มอบ 2553, 12(1), 49-63.

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.(2559).รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรคพยาธิใบไม้ตับ จังหวัด

ศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ 2559. ในการประชุมคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับจังหวัด (คปสจ.); 31 ตุลาคม 2559; สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.

ประวิ อ่ำพันธุ์.(2558). ความชุกของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับในโฮสต์กึ่งกลาง ในพื้นที่โครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2557. วารสาร ควบคุมโรค; 41: 227-40.

Hung N, Dung D, Lan Anh N, Van P, Thanh B, Van Ha N, Canh L.( 2015). Current status of fish-borne zoonotic trematode infections in Gia Vien district, Ninh Binh province, Vietnam. Parasit Vectors 2015: 8(1): 21.

Sithithaworn P, Pipitgool V, Srisawangwong T, Elkins DB, Haswell-Elkins MR. (1997)..Seasonal variation of Opisthorchis viverrini infection in cyprinoid fish in north-east Thailand: implications for parasite control and food safety. Bull World Health Organization, 1997. 75(2): 125-31.

Sri-Aroon P, Intapan PM, Lohachit C, Phongsasakulchoti P, Thanchomnang T, Lulitanond V, et al, Brey PT. (2011) Molecular evidence of Opisthorchis viverrini in infected bithyniid snails in the Lao People's Democratic Republic by specific hybridization probe-based real-time fluorescence resonance energy transfer PCR method. Parasitol Res 108(4): 973-8.

วาสนา ผิวเหลือง และคณะ.(2556).พฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชนตำบลจอมศรี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี [อินเตอร์เน็ต]. อุดรธานี: ฐานข้อมูลงานวิจัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี;[สืบค้นเมื่อ 22 ก.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://203.157.168.8/research/index.php?option=com_content&view=article&id=104:2013-01-15-05-55-44.

อนุวัฒน์ เพ็งพุฒ, จุฑามาศ สุจริต, ดุลศักดิ์ เทพขันธ์, และพุทธิไกร ประมวล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อซ้ำของโรคพยาธิใบไม้ ตับในอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ; 11: 403-10.

IARC. ( 1994). Infection with liver flukes (Opisthorchis viverrini, Opisthorchis felineus and Clonorchis sinensis). IARC Monog Eval Carcinog Risks Hum 1994; 61: 121-75.

ไพบูลย์ สิทธิถาวร. (2548).บทบาทของพยาธิใบไม้ตับต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีในสถานการณ์ปัจจุบัน. Srinagarind Medical Journal 2548; 20: 135-42.

วนิดา โชควานิชย์พงษ์, อำไพ สารขันธ์, และศุลีพร แสงกระจ่าง. (2552).การสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติการบริโภคปลาดิบและการเกิดมะเร็ง ท่อน้ำดี. วารสารโรคมะเร็ง ; 29: 162-75.

อังษณา ยศปัญญา, สุพรรณ สายหลักคำ, บุญจันทร์ จันทร์มหา, และเกษร แถวโนนงิ้ว. (2558).ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคพยาธิ ใบไม้ตับ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ; 22: 89-97.